วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Self assessment

แบบประเมินผลการเรียนรู้ ป.โท ภาคการศึกษาที่หนึ่ง กันยายน – ธันวาคม ๒๕๕๒
Self assessment

๓๐ มกราคม ๒๕๕๓
“สมุดพกนักศึกษา ป.โท”

ด้วยความขอบคุณ

บทความนี้เป็นบทความสุดท้ายของบันทึกเทอมแรก ก่อนวันเปิดเทอมสอง ฉันเขียนขึ้นเพื่อเป็นบทสุดท้าย เขียนเพื่อขอบคุณโอกาสแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับสถาบันอาศรมศิลป์ เพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียน บ้านเรียนอันสวยงามของเรา โรงเรียนรุ่งอรุณ เรือนรับอรุณ พื้นทราย บ่อน้ำ ฯลฯ สถานที่อันอบอุ่น เปิดรับ และมีวิถี วัฒนธรรม มงคลธรรมอยู่ในตัวมัน ฉันเขียนบทความนี้เพื่อเป็นบทประเมินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของฉันเองด้วย ในหมวกฐานะนักศึกษาปริญญาโทคนหนึ่ง ถือว่าเป็นสมุดพกของฉันเอง ที่ฉันทำขึ้นเอง ตัวเองต่างหากที่ต้องประเมินตัวเองก่อนให้ใครมาประเมินด้วย

เกณฑ์การประเมิน
• การรู้จักและเข้าใจในตัวเอง หากนับหนึ่งถึงสิบตั้งแต่ในช่วงเวลาที่ฉันก้าวเข้ามาเรียนรู้ร่วมกับสถาบัน ฉันนับได้ว่าฉันเรียนรู้จักตัวเองและเข้าใจในตัวเองมากขึ้นถึงเจ็ดถึงแปดเต็มสิบ เพราะนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ฉันให้อย่างเต็มที่กับการเรียนรู้เพื่อการเข้าใจในตนเองอย่างแท้จริง ฉันรู้สึกว่าเข้าใจในตัวเองอย่างอย่างดายขึ้น รู้เท่าทันอคติ ความโกรธ โลภ หลงของตัวเองได้ง่ายดายขึ้น รู้จักธรรมชาติของตัวเอง รู้ว่าขุมทรัพย์ของตัวเองอยู่ ณ ภายในตน และที่สำคัญเมื่อรู้ก็ทำ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งทรรศนะคติ พฤติกรรม และวิถีชีวิต
• การรู้จักและเข้าใจในผู้อื่น เมื่อรู้จักและเข้าใจในตัวเองมากขึ้น ทำให้ฉันสามารถเข้าใจในผู้อื่นได้อย่างง่ายดายมากขึ้น ยอมรับในสิ่งที่ผู้อื่นเป็น คาดหวังในการเปลี่ยนแปลงคนอื่นน้อยลง เปลี่ยนแปลงในตัวเองให้มากขึ้น เห็นคนสองด้าน และเลือกที่จะนำด้านดีของคนอื่นขึ้นมารู้และคบหามากขึ้น
• การรู้จักและเข้าใจในธรรมชาติ เห็นได้ชัดจากการเข้าป่า วิชาธรรมชาติวิจักขณ์ เมื่อผ่านประสบการณ์ออกจากป่า อดอาหาร ทำให้ตัวเองมีปณิธานชีวิตที่จะมุ่งเข้าเรียนรู้อยู่กับธรรมชาติ พร้อมทั้งพิทักษ์ปกป้องรักษ์ธรรมชาติ และจัดการศึกษาที่น้อมนำไปสู่การเกื้อกูลโลกให้อยู่ได้อย่างมีสินติมากขึ้น โดยเริ่มที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง หนึ่งคือลดการบริโภคให้อยู่เพียงสองมื้อ และการตัดสินใจเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ลาออกจากการอยู่ในเมือง ใช้วิถีชีวิตคนเมือง เพราะผ่านประสบการณ์ว่าวิถีชีวิตในเมืองทำให้เราเจ็บป่วยได้ เป็นผู้พึ่งพาปัจจัยการผลิต เป็นผู้บริโภคที่มากเกินความจำเป็นที่แท้จริงของชีวิต และรู้จักเข้าถึงในธรรมชาติในตัวตนเราเองได้มากกว่าเมื่อเราอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ แม่น้ำ ดินทราย ภูเขา
• การรู้จักและเข้าใจในความรัก-ความสัมพันธ์ เมื่อเรารู้จักเข้าใจในตัวเอง และผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย มองตัวเอง ผู้อื่น ธรรมชาติ สรรพสิ่งอย่างที่มันเป็น ทำให้เราเจอก้อนหินก้อนใหญ่-ปัญหา ปมใหญ่ในชีวิตเรา- การรู้จักและเข้าใจในความรักความสัมพันธ์ และปัญหาความสัมพันธ์ของตนเองที่คาราคาซังในใจตัวเองมากว่าสองปี เราได้เรียนรู้จักใจเรา รู้ว่าเรารักใครไม่เป็นหากเราไม่รู้จักรักตัวเองในสิ่งที่ตัวเองเป็น และเราจะไม่รู้จักรักในคนอื่นอย่างที่เขาเป็น เราได้เรียนรู้ที่จะรักตัวเองและคนอื่นในสิ่งที่เราเป็นเขาเป็นอยู่ จากหนึ่งถึงสิบ ฉันให้คะแนนเก้าครึ่งที่ฉันได้เรียนรู้บทเรียนนี้ได้ด้วยประสบการณ์
• การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เก้าเต็มสิบเช่นกัน ที่หันเข้ามาเรียนรู้จากภายใน สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ภายในตัวตนเองก่อน บ่มเพาะจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ และพึ่งสติปัญญาของตัวเองก่อน ฉันใช้โทรศัพท์น้อยลง ส่งอีเมล์น้อยลงกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ ในการพูดคุย สอบถาม ปรึกษาปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องความสัมพันธ์ เรื่องการงาน หันเข้ามาเจริญสติ หันเข้ามาหาตัวเอง พูดคุยกับตัวเองก่อน ปรึกษากับตัวเองก่อน และตรวจสอบด้วยหลักธรรม ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เหมาะสมในเงื่อนไขปัจจัย กาลเวลา ณ ขณะนั้นๆ หรือไม่
• จิตวิญญาณความเป็นครูและการบริหารการศึกษา เป้าหมายทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กชายขอบของฉันไม่เคยหายไปจากใจสักวัน ฉันยอมปล่อย ทดโรงเรียนห้วยหิ่งห้อย ที่สังขละบุรีไว้ได้ ด้วยความทรมานใจ กว่าจะพ้นจากความรู้สึกผิด พันธะที่ตัวเองสร้างขึ้นเอง ฉันเรียนรู้ที่จะผ่านพ้นประสบการณ์นี้ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ที่มองเห็นความไม่พร้อมของตัวเอง ความซับซ้อนของปัญหาในชุมชน ความต้องการที่แท้จริงของเด็ก ไม่ดันทุรังไม่ผลักดันความฝัน ความต้องการของตัวเองลงในการจัดการศึกษาเพียงฝ่ายเดียว ฉันสามารถมองเห็นเงื่อนไข ปัจจัย สภาพความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ ได้ ตามที่มันเป็น และวางเป้าหมาย แผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมกับเด็กๆ ได้อย่างแท้จริงในเวลา สถานที่ที่เหมาะสม สอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย
• มงคลชีวิตและสุขภาพวิถีไทย การสวดมนต์ร่วมกัน เป็นมงคลชีวิต และเป็นพลัง นำสมาธิในแต่ละวัน เป็นการปฏิบัติที่นำจุดเริ่มต้นแห่งวันเรียนที่ดีด้วยกัน หากแต่ว่าการนำไปปฏิบัติต่อเนื่องด้วยตัวเองที่บ้าน ยังเป็นคำถาม และเป็นวินัย และเรื่องที่นักศึกษาแต่ละคนจะนำไปปฏิบัติหรือไม่ นั่นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน สำหรับตัวเอง พยายามปฏิบัติให้ได้เป็นประจำวัน สั้นบ้างยาวบ้าง แล้วแต่วาระแต่ละวัน ถามกลับว่าทำไมถึงนำกลับไปทำ เพราะตัวเองผ่านประสบการณ์ที่ทำให้เห็นคุณค่าว่าการสวดมนต์ประจำวัน นำสติ สมาธิ ปัญญา และที่สำคัญทำให้เรากลับมาอยู่กับตัวเอง ได้ในแต่ละวันสุขภาพวิถีไทย ดีมากที่มีในเวลาเย็นของแต่ละวัน อาจารย์มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในวิชา อยู่ในเนื้อในตัวอาจารย์จริงๆ แต่ว่าตัวเองไม่นำไปปฏิบัติเป็นประจำมากที่ควร การออกกำลังกาย ยังเป็นเรื่องที่ไม่เข้ามาในชีวิตประจำวันจริงๆ ยังให้เวลา ความสำคัญตรงนี้ไม่ได้จริงๆ หากให้ประเมินตัวเองตรง แม้แต่การทำโยคะที่ตัวเองชอบ ก็ยังทำบ้างไม่ทำบ้าง เคยเขียนไปในบทประเมินว่า อาจยังไม่เห็นโลงศพจึงยังไม่หลั่งน้ำตา คือยังไม่เคยไม่สบาย จึงยังไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และวิถีสุขภาพองค์รวม จนกระทั่ง ช่วงต้นปีใหม่ที่ผ่านมา ไม่สบายต่อกันสองสัปดาห์ จึงลุกขึ้นมามองเรื่องวิถีสุขภาพองค์รวมกันใหม่ ซึ่งไม่ใช่เพียงการออกกำลังกาย การเยียวยารักษา หากแต่เป็นวิถีการใช้ชีวิตเลยทีเดียว ทั้งการกิน เป็น อยู่ แต่อย่างไร เมื่อตัวเองก็ยังไม่ออกกำลังกาย แม้จะทำงานที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทำสวน สร้างบ้าน อยู่ในธรรมชาติ หายใจดี ได้ทำกิจกรรมประจำวันที่ทำให้เหงื่อออก แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่ายังต้องออกกำลังกายหรือไม่ แสดงว่ายังไม่เข้าใจจริง
• ความสุข ดัชนีวัดความสุข คิดว่าเราต้องเริ่มพูดกันที่นิยามของความสุขคืออะไรก่อน สุขที่แท้ด้วย หากความสุขที่แท้ คือ จิตที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่หลงใหลไปกับความสุขที่ได้รับ แต่รักษาจิตไม่ให้เกิดกิเลส ไม่ทุกข์ใจเศร้าใจไปทุกข์ที่เข้ามาทดสอบ แต่กล้ายอมรับมัน ความสุขสูงสุดที่แท้ของมนุษย์อยู่ที่จิตที่ไม่มีกิเลสและเป็นกลางๆ ไม่ดีใจจนเกินไป ไม่เสียใจจนเกินไป เป็นกลางๆ คือสบายใจโล่งใจ นิยามความสุขข้างต้นทำให้เราสามารถสร้างและชี้วัดความสุขได้ชัดเจน... ผลการชี้วัด ... ฉันว่าฉันมีความสุขดีพอประมาณในการมาเรียนที่สถาบันฯ ไม่หลงใหลไปกับความสุขที่ได้รับจากคนรอบข้างว่าเราเป็นนักศึกษาปริญญาโทแล้วนะ แม่พ่อดีใจที่กลับมาเรียนต่อ แต่ในใจเรารู้ว่าเราเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นนักศึกษาปริญญาโท และเราไม่ได้เข้ามาเรียนเพื่อหวังปริญญา แต่เข้ามาเพื่อศึกษาเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เข้ามาทดสอบทางเลือกทางการศึกษาเรียนรู้ ที่น่าจะมีกัลยาณมิตรเดินร่วมทางเพิ่มขึ้น เข้ามาเพื่อตรวจสอบ ย้อนทวน และรื้อถอนประสบการณ์การเรียนรู้ ทำงานตามความฝันและเป้าหมายในชีวิตของตัวเอง ว่ามันแน่ ชัด สร้างความหมายให้อะไร และที่สำคัญเข้ามาเพื่อเรียนรู้จักและเข้าใจในตัวเอง เมื่อเรามีเป้าหมายชัดในการเดินทาง เราก็ชี้วัด ตรวจประเมินการเดินทางของเราได้อย่างชัดเจน ฉันมีความรู้สึกเป็นกลางๆ กับการเดินทางเข้าสถาบันฯ ไม่สุขไม่ทุกข์เกินไป สบายๆ ย้อนทวน ตรวจสอบ ประเมินตัวเองทั้งความรู้สึก ทรรศนะนคติ พฤติกรรม การเรียนรู้เปลี่ยนแปลง ฉันคิดว่าเป็นสิ่งดีและประกอบกาลเวลา เงื่อนไข ปัจจัยที่เหมาะสมที่ฉันได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ที่สถาบัน

การเรียนรู้จากคณาจารย์
อาจารย์ประภาภัทร เป็นครูและนักบริหารการศึกษาในจิตวิญญาณ อาจารย์มีจิตวิญญาณที่เข้มแข็งมาก ไม่มีความลังเลสงสัย มีพลังและบารมีเป็นที่ตรึงให้ผู้เรียนมีสติอยู่กับตน อาจารย์ยังพูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ความรู้ ที่นำพาให้ผู้เรียนบันทึกและใคร่ครวญในตัวตน ในการปฏิบัติภาระ หน้าที่ การงานของตน อาจารย์ยังเป็นอาจารย์ที่เปิดและให้โอกาสลูกศิษย์ ได้เรียนรู้ภายในตัวตน ผ่านประสบการณ์ และคอยเป็นกระจกสะท้อน ตักเตือน แลกเปลี่ยน เรียกมาคุย ให้เวลาในเวลาที่เหมาะสม อาจารย์มีบารมีบางอย่างที่ทำให้ ความเข้มแข็ง การผ่านโลก ผ่านประสบการณ์มามาก ทำให้ลูกศิษย์ใหม่ อย่างตัวฉันเอง ที่ยังไม่กล้าเข้าหา ยังกล้าๆ กลัวๆ อยู่ขอบๆ ยังไม่กล้ากอด อาจเพราะยังเวลาไม่เหมาะสม และประสบการณ์ร่วมบางอย่างระหว่างเรายังไม่ก้าวผ่าน ที่ทำให้ตัวเองกล้าที่จะไม่กลัวอาจารย์

อาจารย์สุรพล การเขียนกระดานในการจัดการความรู้ การตั้งคำถามเชิงลึกของอาจารย์ เป็นสิ่งที่ตัวเองได้เรียนรู้จากอาจารย์สุรพลมากที่สุด ในห้องเรียน อาจารย์จะเป็นคนที่คอยสะท้อน ยิงคำถามที่ทำให้ทิศทางการเรียนรู้ของห้องเรียนเปลี่ยนบรรยากาศมาลงลึกได้มากขึ้น แทนที่จะไปแต่ด้านกว้าง หลายๆ ขณะในห้องเรียน ในบางก้าว ตัวเองลุ้นๆ ให้อาจารย์สุรพล ลุกขึ้นมาเป็นขุนพล วางบทบู๊-เข้ม ในห้องเรียนคงน่าสนใจ

-เพื่อนร่วมชั้น-
พี่ปาด เป็นรุ่นพี่ร่วมชั้นที่โดนฉัน กัด พ่น สะท้อน ยกมือประท้วง มีปฏิกิริยาด้วยมากที่สุดในห้องเรียน เพราะว่าพี่ปาดเป็นรุ่นพี่ที่ Typical หาได้ทั่วไปในสถาบันอุดมศึกษา แวดวงถกเถียงทางวิชาการ หากแต่ว่านี่เป็นห้องเรียนสถาบันอาศรมศิลป์ ที่ฉันเลือกเข้ามาเรียนรู้แลกเปลี่ยน ดังนั้นฉันจึงตั้งตนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ปาดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันดับแรก ภายในตัวฉัน ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงพี่ปาด ฉันเปลี่ยนแปลงตัวเองในการปฏิสัมพันธ์กับพี่ปาด ด้วยการใช้ประสบการณ์ตัวเอง ดึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นสดจริง ในขณะที่ฟังพี่ปาดเริ่มบรรยายในห้องเรียน หลายๆ ครั้งที่พี่ปาดนำมาแลกเปลี่ยนในห้องเรียนน่าสนใจ แต่ว่าไม่เข้าใจ แต่โดนใจ ลงไปอยู่แต่ในหัวสมอง ไกลตัว ไกลใจ ฉันรู้สึกได้ว่าพี่ปาดมีอะไรในใจเยอะ ต้องการแสวงหาอะไรบางอย่างถึงกลับเข้ามาเรียนในสถาบัน และไม่ใช่เรื่องการแสวงหาความรู้ภายนอกคือสิ่งที่พี่ปาดเข้ามาค้นหา เพราะพี่ปาดมีกำลังความสามารถเข้าถึงความรู้เหล่านั้นได้มากมาย ที่ไหนก็ได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมาถึงสถาบันเพื่อสิ่งนี้ แต่สิ่งที่พี่ปาดน่าจะเข้ามาหาภายในห้องเรียนนี้ น่าจะเป็นการหาพื้นที่ปลอดภัย ที่มีกัลยาณมิตร นำพากันไปสู่การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ฉันรู้สึกได้ว่าพี่ปาดมาเรียน เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง เปลี่ยนแปลงเพลินพัฒนา หรือว่าเปลี่ยนแปลงตัวเอง ย้ำทวนจุดยืนของตัวเอง ฉันรู้สึกว่าพี่ปาดเป็นครูที่แท้จริงคนหนึ่ง และมีจุดยืนทางการศึกษาทางเลือกที่ชัดเจน เพียงแต่ว่าจะกล้ายืนในจุดยืนนั้นอีกครั้งหรือไม่ ฉันเรียนรู้จากพี่ปาดมากมาย ขอบคุณค่ะ หากไม่มีพี่ปาด ห้องเรียนคงจืดชืด
-พี่จือ พี่เอง - หากไม่มีพี่จือ พี่เอง ฉันคงเหงา ไม่อยากมาเรียนที่ห้องเรียนนี้ เหมือนตอนเรียนประถม ที่เวลาเช้าไปเรียน เราจะมองหาเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมแก๊งค์ ฉันคิดว่าพี่สองคนนี้เป็นเพื่อนร่วมแก็งค์ แม้ว่าเราจะต่างชั้นอายุกันหลายรอบ พี่ๆ ทั้งสองคนเป็นคนที่มีเมตตาสูง จิตใจดี มีจิตวิญญาณความเป็นครู ฉันชอบดูและลุ้นพี่ๆทั้งสองคน ตอนแกทั้งสองง่วงๆ แล้วฉันก็จะพ่น หรือบ่น หรือว่าป่วนเปลี่ยนบรรยากาศในห้องเรียน แล้วพี่ๆ ทั้งสองก็จะตาวาว ตาสว่างขึ้นมา แล้วก็ขึ้นเสริมประสบการณ์ของตัวเอง เหมือนพี่ๆ แกกล้าๆ กลัวๆ ไม่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตัวเองก่อนจะมีฉันรุ่นกระเปี๊ยกนำไปก่อน และเมื่อทุกครั้งที่พี่สองคนแลกเปลี่ยน แกมีอะไรที่น่าสนใจ ออกมาจากใจ จากประสบการณ์เล็กๆที่นครสวรรค์ของทั้งสองคนอันเป็นที่ทำให้ทั้งห้องได้เรียนรู้มากมาย ขอบคุณค่ะที่มีพี่ทั้งสองในห้องเรียน
- อาจารย์เปี๊ยก – อาจารย์เปี๊ยก เป็นรุ่นพี่ร่วมชั้นที่มีอาวุโสที่สุด และบังเอิญเป็นญาติกับเพื่อนในสมัยมหาวิทยาลัยของฉัน ซึ่งทำให้ฉันต้องกัดปากตัวเองไว้ ไม่เบรกอาจารย์หลายๆ สัปดาห์ อาจารย์เปี๊ยก จะนำเรื่องมาเล่า ซึ่งเป็นเรื่องของคนอื่นๆ มากมาย เยอะกว่าเรื่องของตัวเอง และสองสามครั้งที่เล่าเรื่องเดิมซ้ำ และยังกล้าฝัน แม้ว่าอาจารย์ยังวาดภาพฝันเกี่ยวกับเรื่องการจัดการศึกษาที่นครสวรรค์ให้เห็นอย่างชัดเจนไม่ได้สักที ฉันรู้สึกว่าอาจารย์น่ารัก และมีความพยายาม รักการเรียนรู้ แม้อายุจะป่านนี้ ฉันรู้สึกขอบคุณอาจารย์เปี๊ยกเรื่องนี้ค่ะ และฉันก็เรียนรู้จากอาจารย์เปี๊ยกว่า ฉันจะต้องเข้าไปเรียนรู้ภายในตัวตนเองให้มากขึ้น ไม่ต้องแสวงหาความรู้จากภายมากกว่า
- พี่นิด - เรียนรู้จากพี่นิดเยอะมาก พี่นิดพูดอะไร สะท้อนอะไรในห้องเรียน จากการผ่านประสบการณ์จริงของตัวเองได้ชัดเจนมาก เป็นบทเรียน อุทาหรณ์ที่ดีสำหรับห้อง พี่นิดไม่ลังเลที่จะถ่ายทอดความรู้สึก ประสบการณ์ที่ตัวเองได้เรียนรู้ ฉันชอบดูนัยน์ตาช่างฝันของพี่นิด เมื่อพูดถึงการไปทำโรงเรียนที่สบลานตลอดภาคการศึกษา และเฝ้ารอที่จะได้ขึ้นไปเห็น และเมื่อได้ขึ้นไปที่สบลาน ฉันได้เห็นความเข้มแข็ง แน่วแน่ เด็ดเดี่ยว ความภูมิอกภูมิใจ ปิติ รอยยิ้ม ที่พี่นิดวาดภาพให้ฉันฝันตามมาตลอดภาคการศึกษา ขอบคุณพี่นิดค่ะที่ยังฝัน
- พี่ปุ๊ก- รู้สึกว่าเวลาไม่ตรงกัน ไม่ค่อยได้เจอพี่ปุ๊ก อาจารย์ธรรมศาสตร์ สักเท่าไหร่ ในห้องเรียน แต่รู้สึกว่าพี่ปุ๊กน่าจะเป็นเพื่อนร่วมแก๊งค์ได้ดี พี่ปุ๊กจะยังไม่กล้าแลกเปลี่ยนในห้องเรียน จนอาจารย์สุรพลต้องยิงคำถามจี้พี่ในตอนท้ายของห้องเรียนอยู่เป็นประจำ รู้สึกได้ว่าพี่ปุ๊กยังรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่คุ้นชิน กับบรรยากาศการเรียนของสถาบัน หากแต่ว่าในที่สุด เมื่อต้องร่วมแลกเปลี่ยนพี่ปุ๊กจะนำตัวเองขึ้นเขียง เปิดควรรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวเองจริงๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ( มากกว่าพี่ปาดนะ ) ฉันรู้สึกขอบคุณพี่ปุ๊กจุดนี้ค่ะ
- คณาจารย์รุ่งอรุณ- ต้องขอบคุณคณาจารย์จากโรงเรียนรุ่งอรุณด้วยค่ะ ที่เข้ามาเรียนรู้ด้วยกันเป็นระยะๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์จากรุ่งอรุณ สะท้อนให้เห็นวิถี กระบวนการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนรุ่งอรุณ เห็นการบ่มเพาะจิตวิญญาณความเป็นครู เห็นความพยายามในการเติบโต เปลี่ยนแปลง แสดงจุดยืน จุดต้านของการเป็นโรงเรียนรุ่งอรุณกับกระแสภายนอก เห็นข้ออุปสรรคของการพัฒนาความเป็นโรงเรียนรุ่งอรุณในการจัดการศึกษาแนวพุทธเด่นชัดหนึ่งประการ เนื่องด้วยจากตัวครูเองซึ่งจะเป็นผู้นำพายังไม่มีเวลาพอที่จะกลับมาย้อนทวน หลายครั้งจากหลายคนสะท้อนผ่านห้องเรียนว่ามีงานหน้าโต๊ะ ภาระรับผิดชอบกองตรงหน้า งานบริหารการศึกษาที่แต่ละคนบ่นว่ามีงานมาก จนไม่มีเวลาย้อนทวน ใคร่ครวญภายในจริงจัง สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่งค่ะ ที่ตัวเองได้เรียนรู้ว่าต้องให้เวลากับตัวเองจริงๆ ในการศึกษาเรียนรู้ใคร่ครวญจากภายในตัวตนเป็นสำคัญด้วย มิเช่นนั้น เราจะต้องวิ่งตามๆ ไปในสภาวการณ์ งานภาระที่เข้ามาตรงหน้าจนกลายเป็นคนทำงานประจำมากเกินไป มากกว่าจะพัฒนาจิตวิญญาณ และการเป็นครูที่อยู่เรียนรู้กับผู้เรียน ซึ่งเราเองก็เป็นผู้เรียนคนหนึ่งด้วยในเวลาเดียวกัน

สุดท้าย ขอบคุณตัวเองค่ะ
ขอบคุณตัวเองค่ะ ที่เอาตัวเองเข้าเรียนรู้ ขยายขอบเขตพื้นที่การเรียนรู้ของตัวเองตลอดเวลา และเป็นคนที่มีเป้าหมายในชีวิตชัดเจน ขอบคุณตัวเอง ที่เรียนรู้จักการเมตตาให้ตัวเอง รู้จักรักตัวเอง รู้จักการอยู่กับทุกข์ของตัวเองได้ รู้เท่าทันตัวเองขึ้นมามากขึ้นในแต่ละขณะ ขอบคุณตัวเองที่เรียนรู้จากอคติของตัวเอง แล้วปรับเปลี่ยน เรียนรู้ที่จะเฝ้ามองมัน และขยับมันทีละนิด หรือว่ารื้อถอนมันครั้งใหญ่ เมื่อมีสัญญาณเตือน ขอบคุณตัวเองที่ฟังเสียงภายในตัวเองมากมาย ฟังเสียงและปฏิกิริยาของร่างกาย แล้วย่อยมันออกมาว่ามันหมายถึงอะไร ขอบคุณตัวเองที่พ่นออกมาเมื่อจำเป็นในห้องเรียน ยกมือประท้วง แล้วพยายามสื่อสารความรู้สึกออกมา แม้ว่าบางครั้งจะยังสื่อสารได้ไม่ตรงกับใจ เพราะยังไม่เข้าใจในใจตัวเองในขณะนั้นว่าต้องการอะไร เกิดอะไรขึ้น แต่ก็รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องการสะท้อน ย้อนทวน ขอบคุณตัวเองที่มีความสุข มีความรักในการเรียนรู้ มีจิตใจที่เปิดกว้างรับการเรียนรู้จากคนรอบๆ ข้าง จากสิ่งรอบๆ ตัว เปิดตัวเองให้กับธรรมชาติ และเปิดให้ธรรมชาติของตัวเองออกมาอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นสิ่งเดียวกัน ขอบคุณสถาบันอาศรมศิลป์อีกครั้งที่เปิดพื้นที่และชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง ทั้งภายในและภายนอกตัวเอง.

งานวิจัยสถาบันอาศรมศิลป์

บทเสริม
งานวิจัยสถาบันอาศรมศิลป์

ประเด็นการสัมภาษณ์ เสาวนีย์ สังขาระ
นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท แขนงหลักสูตรการบริหารการศึกษา

ประวัติส่วนตัว
เรียน
หลากหลายๆรูปแบบ
-แบบเป็นทางการกับสถาบัน ได้ใบและกระดาษ-
จบการศึกษาปริญญาตรีคณะมนุษยศาสตร์ มศว.ประสานมิตร
ได้ทุนเรียนประกาศนียบัตรครู Teacher Education Program ที่โรงเรียน Upatinas school National Coalition of Alternative Education, USA
เรียนฟิล์มสคูล Galliano Island Film and Television School ( GIFTS )

-แบบเรียนเป็นงานอดิเรก เรียนเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงศักยภาพภายใน และเมื่อเจอปัญหาหน้าตัก-
Training for Change for Trainer TOT, USA
Woman Retreat and Ally, ศูนย์อบรมเพื่อผู้หญิงและความยุติธรรม
Life coaching & Counseling & Non-violence communication & Creative Community กับ เสมสิกขาลัย และ อาศรมวงศ์สนิท
เรียนแต่งเพลง ทำรายการทีวีสำหรับเด็ก เรียนเขียนบท

ทำงาน
ยากมากเลยที่จะระบุว่าตัวเองมีอาชีพอะไรในแบบฟอร์มต่างๆ จะบอกว่าทำงานรับจ้าง ก็รับจ้างตัวเองทำงาน ไม่เคยมีนายจ้าง ไม่เคยใช้ใบปริญญาสมัครงาน ไม่เคยมีสลิปเงินเดือน
งานที่ทำจริงๆ เป็นสิ่งเดียวกับเรื่องที่ใฝ่ฝัน ทำงานด้านการศึกษาทางเลือก สร้างชุมชนทางเลือก กับเด็กๆ กับชุมชนชายขอบ ทำงานอดิเรกรับจ้างทำสื่อ เป็นครู ปัจจุบันจะเป็นนักเรียนปริญญาโทเขียนวิทยานิพนธ์ให้จบเป็นงานหลักสี่เดือน

งานอดิเรก
มีมากมาย จนหาเวลาทำมันไม่หมด ไม่มีเวลาเหงาเลย !
อ่านหนังสือ เขียนบันทึก ถ่ายภาพ วาดภาพ แต่งนิทาน เดินปากคลองตลาดดูดอกไม้ เดินทาง อาสาสมัคร ฟังเพลง ดูหนัง ทำบ้านดิน ทำสวน ทำแอนนิเมชั่น

ความใฝ่ฝัน
“ฉันฝันจุ” มีชีวิตที่เป็นอิสระ เป็นนักออกแบบและสิ่งแรกที่ออกแบบคือออกแบบชีวิตตัวเอง เป็นนักเขียนที่บันทึกการเดินทางของชีวิต เป็น filmmaker ที่สร้างภาพยนตร์คลาสสิค อยากมีคอนเสิร์ตเล็กๆ สำหรับเด็กๆของตัวเองสักครั้ง มีโรงเรียนในบ้านของตัวเองอยู่ในฟาร์มและชุมชน กับครอบครัวที่น่ารัก สุดท้าย อยากมีจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ เป็นคนที่มีความสุขที่แท้ ยังประยชน์ให้คนเองและคนอื่น

มุมมองการใช้ชีวิตเป็นอย่างไร ( ใช้ชีวิตแบบไหน/เวลาเกิดปัญหา จัดการอย่างไรกับชีวิต )
ใช้ชีวิตแบบ
- ผีเสื้อ – บินร่อน เรียนรู้ สมัยศึกษาเรียนรู้ปริญญาตรีและเรียนจบหนึ่งปี
- หิ่งห้อย – ส่องแสงวิบๆวับๆ กลางป่า สมัยทำงานโครงการเมล็ดดาวกล่อมฝัน เมล็ดดาวเดินทาง ศูนย์การเรียนห้วยหิ่งห้อย
- ดักแด้ – ปัจจุบัน บ่มเพาะจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ ย้อนทวน เรียนรู้ รื้อถอน ใคร่ครวญการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองมากว่าสิบปี เพื่อที่จะเปลี่ยนรูปอีกครั้ง!

เวลาเกิดปัญหา จัดการอย่างไรกับชีวิต
อดีตที่ผ่านมา
หนี กลัว โกรธ โทษคนอื่น โทษตัวเอง รู้สึกผิด
ปัจจุบัน
มองสภาพเงื่อนไข ปัจจัย ตามสภาพที่มันเป็น ยอมรับในตัวเอง มองดูธรรมชาติของตัวเอง รู้จักประมาณศักยภาพของตัวเอง มองเป้าหมายในชีวิตของตัวเอง มองปัญหาว่าเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิต การงาน การจัดการกับปัญหาอย่างไร เป็นก้าวเดินสำคัญของชีวิตที่จะหักเห นำพา ชีวิตไปสู่เป้าหมาย
การรู้ตัวทั่วและทันว่าเรา หนี กลัว โกรธ โทษคนอื่น โทษตัวเอง รู้สึกผิด จะทำให้เราเห็นปัญหาแรกที่เป็นปัญหาภายในตัวเราก่อน เป็นหินก้อนใหญ่ที่เราเจอก่อน ที่เราจะจัดการกับปัญหาภายนอกประจำวัน ในความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง กับการงาน

ทำไมเลือกเรียนที่อาศรมศิลป์ คาดหวังอะไรกับที่นี่
“จังหวะ กาลเวลา เงื่อนไข ปัจจัยที่เหมาะสม”
เรื่องราวมีอยู่ว่า เรากำลังทำการศึกษาสำหรับเด็กชายขอบ กล้าหาญมากเปิดโรงเรียนของตัวเอง “ศูนย์การเรียนห้วยหิ่งห้อย” เปิดมาครึ่งเทอม รู้เลยว่าจะเจอตอ สิ่งที่เชื่อมาตลอดเรื่องการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กชายขอบใช่ แต่ว่ายังต่อจิ๊กซอร์เป็นภาพใหญ่ให้เห็นร่วมกันไม่ได้ รวมทั้งตัวเองก็ไม่พร้อมบางเรื่องหัวใจหลักในการบริหารการศึกษา โทรปรึกษากัลยาณมิตรหลายๆ คน จนคุยกับ โจ้ ธนา ให้ข้อมูลเรื่องการเรียน ป.โท ศึกษาศาสตร์ที่สถาบันฯ ที่ต้องสมัครวันนั้น สอบสัปดาห์ต่อไป เรียนสัปดาห์ถัดมา ฉันจึงได้สัญณาณ ว่านี่ล่ะใช่ ทันใจ ทันการณ์ จังหวะ เงื่อนไข ปัจจัยที่เหมาะสม
ความคาดหวังกับการเข้ามาเรียนในสถาบัน
ต้องการมีชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่เป็นสภาพแวดล้อม พื้นที่ปลอดภัยและเปิดให้เราย่อยประสบการณ์จริง งานหน้าตักที่เราทำอยู่ สิ่งที่เราทำผ่านมา และสิ่งที่เรายังฝันจะทำในอนาคต คาดหวังที่จะได้เรียนเพิ่มเติมเรื่องการบริหารการศึกษา คาดหวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์และสติปัญญาของคนอื่น คาดหวังจะบ่มเพาะจิตวิญญาณของความเป็นครู คาดหวังมากที่สุดว่าจะได้ย่อยประสบการณ์ของตัวเอง เรียนรู้จักและเข้าใจในตัวเอง รู้เท่าทันตัวเอง และโลกอันกว้างใหญ่

การเรียนการสอนของอาศรมศิลป์เป็นอย่างไร ( เนื้อหาและกระบวนการ ) แตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นอย่างไร
สำหรับตัวเอง คิดว่า สถาบันฯ เปิดพื้นที่กว้างใหญ่มากเพื่อให้ผู้เรียนสร้าง เนื้อหาและกระบวนการตามแต่วาระของผู้เรียน เพื่อให้ลื่นไหล สอดคล้อง ยืดหยุ่น ตามวาระของผู้เรียนในห้องจริงๆ ผู้เรียนมีประสบการณ์หลากหลาย ต่างกัน บางทีก็ดูเหมือนโยนหินถามทาง คลำๆ ทางไปด้วยกัน หาทางเดินไปร่วมกัน
มีการสร้างภาชนะการเรียนรู้? พื้นที่ปลอดภัย? รับฟังกันอย่างลึกซึ้ง? กระบวนการมีส่วนร่วม?
ระบบพี่เลี้ยง? ที่ปรึกษา? ติดตามประเมินผล? เหล่านี้เป็นกระบวนการร่วมหาทางเดินไปด้วยกัน
เรียนกันสบาย สบาย ไม่มีการเลคเชอร์ จดตามการบรรยาย ทำการบ้านจากการค้นหาความรู้นอกตัว เนื้อหาและกระบวนการเรียน คือการใคร่ครวญ ค้นหาความรู้ สติปัญญาจากภายในตัวเรา การบันทึกการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์ มุ่งให้เรามองย้อน ทบทวน เชื่อมโยง สัมพันธ์สิ่งที่เราร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้จากชั้นเรียน และจากชีวิตของเรา
บางสัปดาห์อยากมาเรียน บางสัปดาห์ไม่อยากมาเรียน บางสัปดาห์ไม่น่าตื่นเต้น ไม่เข้าใจ น่าเบื่อในที รู้สึกเสียเวลาบางครั้ง รู้สึกว่ารอที่จะให้หมดเวลาในห้องเรียนเพื่อไปเรียนวิชาพละตอนเย็น ให้เท้าไปเหยียบทราย วิ่งให้เหงื่อไหลไคลย้อย บางสัปดาห์รู้สึกว่าเวลาหมดไปเร็วมาก ตั้งหน้าตั้งตารอสัปดาห์ต่อมา รู้สึกว่าอยากให้วันเสาร์มาถึงจริงๆ ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นจริงและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาภาคการเรียนแรกของตัวเอง ตัวเองตั้งข้อสังเกตเมื่อกลับไปย้อนดูว่า เกิดจากสาเหตุใด คิดว่าน่าจะมาจากการที่เราแยกส่วนการเรียนในห้องเรียนวันเสาร์กับชีวิตของเรากับอีกหกวันในสัปดาห์ที่เราผ่านประสบการณ์ หรือกับอดีต หรือแผนการในอนาคตที่เราวางไว้ และหากสัปดาห์นั้นไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของเพื่อนร่วมเรียนแต่ละคนอย่างใคร่ครวญและลงลึก หากเป็นการมาเลคเชอร์ เจื้อยแจ้ว วิพากษ์วิจารณ์ระบบ คนอี่น แต่ไม่ได้มีการมองย้อนเข้าไปในตัวเอง เอาประสบการณ์จริง หน้าตักมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันสดๆ เหล่านี้เป็นตัวร้อยเรียง เนื้อหาและกระบวนการที่สถาบันฯ พยายามเปิดให้กว้างมากๆ ผู้เรียนต้องเป็นผู้ที่ตักตวง สร้างภาชนะ สร้างพื้นที่การเรียนรู้ของตัวเองอย่างแท้จริง ขยายขอบเขตพื้นที่การเรียนรู้ของตัวเอง ไม่มีใครก้าวเดินแทนเราได้ สถาบันเพียงสร้างสภาพแวดล้อมให้เราก้าวเดินเอง

ต่างจากสถาบันอื่นอย่างไร
ไม่แน่ใจ เพราะไม่เคยผ่านประสบการณ์ปริญญาโทจากสถาบันอื่นด้วยตัวเองจึงพูดได้ไม่เต็มปาก แต่เท่าที่เทียบประสบการณ์กับเพื่อนสนิทที่เรียนปริญญาโท ม.นเรศวร ด้วยกัน ณ เวลานี้ ดูเพื่อนทุกข์ทรมานมากกับการเรียน จดเลคเชอร์มือหยิก กลับมาบ้านต้องมาถอดเทปที่อาจารย์สอน ต้องทำการบ้าน ค้นหาตำรามากมาย ประกอบการขียนรายงานส่งไม่เว้นสัปดาห์ อาทิตย์ก่อนไปสอบถึงกับเครียดลงกระเพาะอาหาร เราคุยกันตลอดเรื่องการเรียนเหมือนเรียนด้วยกัน เพื่อนถามว่าการบ้านสัปดาห์นี้มีอะไร ฉันบอกเพื่อนว่า บันทึกการเรียนรู้ภายในโยงใยสัมพันธ์ เพื่อนไม่เข้าใจขออ่านการบ้านของเรา พอฉันส่งบทความการบ้านให้อ่าน เพื่อนบอกว่าเป็นการบ้านที่มีค่า น่าสนุก และต้องเปิดเผย รื้อค้นจากภายในตัวตนเองมาก ดูมีคุณค่าน่าเรียนรู้มากกว่าการไปค้นคว้าตำราแล้วมาปะติดตำราวิชาการมาเรียงร้อยกันใหม่ ไม่ได้ทำให้เธอเรียนรู้อะไรจริงๆ แล้วฉันถามว่าแล้วจะเสียเงิน เสียเวลาเรียนทำไม เครียดก็เครียด มีความสุขหรือเปล่า เพื่อนบอกว่า ไม่กล้าหาญพอจะเลือกทางเลือกของตัวเอง คงต้องเดินตามกระแสสังคมไป ใครๆ เขาก็เรียนกันแบบนี้ การงานจะได้ก้าวหน้า ได้ปริญญากันเพราะแบบนี้ เธอทำงานอยู่พื้นที่การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก...
ฉันบอกเพื่อนอีกว่า ฉันเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ไปสองรอบแล้ว เพื่อนตกใจ เพราะเพิ่งเรียนเทอมเดียว ทำไมถึงเสนอวิทยานิพนธ์ได้ ฉันบอกว่าเพราะฉันรู้สึกว่าพร้อมแล้วไง รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเรียนแต่วันเสาร์ในห้องเรียนมากกว่าหนึ่งปีแล้ว รู้สึกว่าฉันสร้างการเรียนรู้เองได้ เจอขุมสมบัติความรู้ภายในตัวเองแล้ว เพราะฉะนั้นไม่ต้องรอให้ใครมาบอก มาแค่น มาตาม มาบังคับว่าเราจะเรียนอะไร เสนอวิทยานิพนธ์ได้เมื่อใด จบได้เมื่อใด หลักสูตรการเรียนรู้จะเป็นอย่างไร สร้างเองเลย เพื่อนฉันจึงย้อนถามด้วยคำถามของฉันว่า แล้วฉันจะเสียเงินเรียนไปทำไม ในเมื่อเรียนเองได้ ฉันพยักหน้า ตอบด้วยคำตอบของมันว่า “ยังไม่กล้าหาญพอ…” และยังมีความสุขดีอยู่พอสมควร
เราหัวเราะด้วยกัน!
แต่ฉันเห็นว่า เพื่อนฉันน้ำลายสอ ฉันอยากจับมันกระชาก ขย้ำสักสามที แล้วก็พาไปลาออก มาเข้าเรียนที่อาศรมศิลป์ปีหน้า แต่มันคงไม่เอาแล้วย้ำคำตอบเดิมว่า “ยังไม่กล้าหาญพอ…”

ประเด็นในแต่ละวิชาและกิจกรรม เช่น
-มงคลชีวิตและวิถีสุขภาวะแบบองค์รวม ( สวดมนต์ สนทนาธรรม สุขภาพวิถีไทย จริยศิลป์ ภาษและเทคโนโลยี การบริหารการศึกษาและโปรแกรมการศึกษารายบุคล (IEP) วิชานั้นเป็นอย่างไร ( กระบวนการ/เนื้อหา/ความรู้สึก ) ได้เรียนรู้อะไรบ้าง ( เนื้อหา/ความรู้สึก/คุณค่า) เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตนเองอย่างไร
ได้มีการนำสิ่งที่ได้ไปใช้ไหม อย่างไร ( ทั้งบนการทำงานและการใช้ชีวิต) คิดว่าเครื่องมือที่สำคัญของวิชานี้คืออะไร คิดว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนวิชานี้ไหม เพราะอะไร ข้อเสนอแนะสำหรับวิชานี้

มงคลชีวิตและวิถีสุขภาวะแบบองค์รวม
-การสวดมนต์ร่วมกัน-
เป็นมงคลชีวิต และเป็นพลัง นำสมาธิในแต่ละวัน เป็นการปฏิบัติที่นำจุดเริ่มต้นแห่งวันเรียนที่ดีด้วยกัน หากแต่ว่าการนำไปปฏิบัติต่อเนื่องด้วยตัวเองที่บ้าน ยังเป็นคำถาม และเป็นวินัย และเรื่องที่นักศึกษาแต่ละคนจะนำไปปฏิบัติหรือไม่ นั่นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน สำหรับตัวเอง พยายามปฏิบัติให้ได้เป็นประจำวัน สั้นบ้างยาวบ้าง แล้วแต่วาระแต่ละวัน ถามกลับว่าทำไมถึงนำกลับไปทำ เพราะตัวเองผ่านประสบการณ์ที่ทำให้เห็นคุณค่าว่าการสวดมนต์ประจำวัน นำสติ สมาธิ ปัญญา และที่สำคัญทำให้เรากลับมาอยู่กับตัวเอง ได้ในแต่ละวัน

-สุขภาพวิถีไทย-
ดีมากที่มีในเวลาเย็นของแต่ละวัน อาจารย์มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในวิชา อยู่ในเนื้อในตัวอาจารย์จริงๆ แต่ว่าตัวเองไม่นำไปปฏิบัติเป็นประจำมากที่ควร การออกกำลังกาย ยังเป็นเรื่องที่ไม่เข้ามาในชีวิตประจำวันจริงๆ ยังให้เวลา ความสำคัญตรงนี้ไม่ได้จริงๆ หากให้ประเมินตัวเองตรง แม้แต่การทำโยคะที่ตัวเองชอบ ก็ยังทำบ้างไม่ทำบ้าง เคยเขียนไปในบทประเมินว่า อาจยังไม่เห็นโลงศพจึงยังไม่หลั่งน้ำตา คือยังไม่เคยไม่สบาย จึงยังไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และวิถีสุขภาพองค์รวม จนกระทั่ง ช่วงต้นปีใหม่ที่ผ่านมา ไม่สบายต่อกันสองสัปดาห์ จึงลุกขึ้นมามองเรื่องวิถีสุขภาพองค์รวมกันใหม่ ซึ่งไม่ใช่เพียงการออกกำลังกาย การเยียวยารักษา หากแต่เป็นวิถีการใช้ชีวิตเลยทีเดียว ทั้งการกิน เป็น อยู่ แต่อย่างไร เมื่อตัวเองก็ยังไม่ออกกำลังกาย แม้จะทำงานที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทำสวน สร้างบ้าน อยู่ในธรรมชาติ หายใจดี ได้ทำกิจกรรมประจำวันที่ทำให้เหงื่อออก แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่ายังต้องออกกำลังกายหรือไม่ แสดงว่ายังไม่เข้าใจจริง


รู้ได้อย่างไรว่า ตนเองเกิดการเรียนรู้แล้ว
“เห็นตัวเอง” เมื่อมีความรู้สึก สิ่งใดเข้ามากระทบ เรารู้ตัว ทั่วถึง รู้ว่าเราเข้าใจ เราไม่เข้าใจ เราไม่พอใจ เราพอใจชอบ และเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตัวเรา ซึ่งอาจส่งผลมาถึงทรรศนคติและพฤติกรรมของตัวเรา
การเรียนรู้กับความรู้สึกสดๆ เกิดขึ้นจริง ผ่านประสบการณ์จริง ซึ่งนำสู่การเปลี่ยนแปลง เหมือนการเรียนรู้ธรรม ธรรมชาติของตัวเอง เรียนรู้จักตัวเอง มีสติ สมาธิที่เห็น และเท่าทันความคิด ปรุงแต่ง อคติ กิเลส ความอยาก ความโลภ ความโกรธ แม้แต่อยากทำดีๆ

ให้นิยาม “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” คืออะไร
พี่นิด เคยพูดในชั้นเรียนสัปดาห์หนึ่งว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ แท้จริงแล้วอยู่ในตัวเรา เราต้องสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ภายในตัวเราก่อน เพราะฉะนั้น “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” คืออะไร สำหรับฉันคิดว่า คือกระบวนการ พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้าใจ พึ่งพาสติปัญญาของตนเอง แต่ละคนเป็นอิสระ
แลก- ประสบการณ์ที่ตนผ่านจริง
เปลี่ยน-ประสบการณ์นั้นนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในตนอย่างไร
เรียน-เนื้อหาจากประสบการณ์สดจริงผ่าน
รู้-รู้จักและเข้าใจในตัวเองและผู้อื่นอย่างง่ายดาย แต่ละคนเป็นอิสระ


เข้าใจคำว่า “การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ” อย่างไร สิ่งนี้เกิดขึ้นระหว่างที่เป็นนักศึกษาที่นี่ไหม อย่างไร ยกตัวอย่าง
คำตอบดูจากบทความการบ้านแต่ละสัปดาห์ได้เลยเจ้าค่ะ!

ปัจจัยเกื้อหนุน/อุปสรรคต่อการพัฒนาเรียนรู้ของตน ขององค์กรคืออะไร
ปัจจัยเกื้อ
การบูรณาการวิชา การให้บรรยากาศ พื้นที่การเรียน กระบวนการเนื้อหา ตามวาระของผู้เรียน
อุปสรรค
บางทีความไม่ชัดในกระบวนการ การดำเนินกระบวนการ การสร้างภาชนะในการเรียน หากมีกระบวนกรอำนวยกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ช่วยนำพา สร้างกระบวนการให้ชัดเจนขึ้น ช่วงดึง สรุปร่วม จะพาให้ห้องเรียนไปด้วยกันได้เร็วขึ้น บริหารเวลาได้มากขึ้น หากแต่ว่าในอีกแง่มุมหนึ่ง ตัวอุปสรรคตัวนี้ อาจเป็นปัจจัยเกื้อในทีก็ได้ ที่จะเปิดกว้าง กว้างจริงๆ ให้ผู้เรียนขยับ พ่น อึดอัด สร้างกระบวนการ พื้นที่ วิธีการ เนื้อหา อำนวยการเรียนด้วยตัวเอง ด้วยการร่วมชั้นเอง


เรียนที่นี่มีความสุขไหม ตัวชี้วัดความสุขของนักศึกษาคืออะไร
คิดว่าเราต้องเริ่มพูดกันที่นิยามของความสุขคืออะไรก่อน สุขที่แท้ด้วย หากความสุขที่แท้ คือ จิตที่ไม่ยินดียินร้าย ไม่หลงใหลไปกับความสุขที่ได้รับ แต่รักษาจิตไม่ให้เกิดกิเลส ไม่ทุกข์ใจเศร้าใจไปทุกข์ที่เข้ามาทดสอบ แต่กล้ายอมรับมัน ความสุขสูงสุดที่แท้ของมนุษย์อยู่ที่จิตที่ไม่มีกิเลสและเป็นกลางๆ ไม่ดีใจจนเกินไป ไม่เสียใจจนเกินไป เป็นกลางๆ คือสบายใจโล่งใจ
นิยามความสุขข้างต้นทำให้เราสามารถสร้างและชี้วัดความสุขได้ชัดเจน...
ผลการชี้วัด ... ฉันว่าฉันมีความสุขดีพอประมาณในการมาเรียนที่สถาบันฯ ไม่หลงใหลไปกับความสุขที่ได้รับจากคนรอบข้างว่าเราเป็นนักศึกษาปริญญาโทแล้วนะ แม่พ่อดีใจที่กลับมาเรียนต่อ แต่ในใจเรารู้ว่าเราเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นนักศึกษาปริญญาโท และเราไม่ได้เข้ามาเรียนเพื่อหวังปริญญา แต่เข้ามาเพื่อศึกษาเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เข้ามาทดสอบทางเลือกทางการศึกษาเรียนรู้ ที่น่าจะมีกัลยาณมิตรเดินร่วมทางเพิ่มขึ้น เข้ามาเพื่อตรวจสอบ ย้อนทวน และรื้อถอนประสบการณ์การเรียนรู้ ทำงานตามความฝันและเป้าหมายในชีวิตของตัวเอง ว่ามันแน่ ชัด สร้างความหมายให้อะไร และที่สำคัญเข้ามาเพื่อเรียนรู้จักและเข้าใจในตัวเอง เมื่อเรามีเป้าหมายชัดในการเดินทาง เราก็ชี้วัด ตรวจประเมินการเดินทางของเราได้อย่างชัดเจน ฉันมีความรู้สึกเป็นกลางๆ กับการเดินทางเข้าสถาบันฯ ไม่สุขไม่ทุกข์เกินไป สบายๆ ย้อนทวน ตรวจสอบ ประเมินตัวเองทั้งความรู้สึก ทรรศนคติ พฤติกรรม การเรียนรู้เปลี่ยนแปลง ฉันคิดว่าเป็นสิ่งดีและประกอบกาลเวลา เงื่อนไข ปัจจัยที่เหมาะสมที่ฉันได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ที่สถาบันฯ ต้องขอบคุณสถาบันค่ะ ที่ให้โอกาส บรรยากาศ และพื้นที่ในการเรียนรู้อย่างแท้จริง และต้องขอบคุณตัวเองที่ใช้โอกาส พื้นที่ บรรยากาศ นั้นได้อย่างคุ้มค่า เป็นประโยชน์ในการรู้จักและเข้าใจในตัวเองค่ะ.

๓ ภาคผนวกงานวิจัย

ภาคผนวก
*ลำดับการทำงาน ความคิด งานที่รวบรวม เริ่มเขียน เริ่มร่างความคิดเอาไว้ และค่อยๆ ให้เวลาย่อย ถอดประสบการณ์ จัดการความรู้ และเขียนของ เสาวนีย์ สังขาระ *

ภาคผนวก ๑ : ลำดับการทำงาน ๑๐ ปีที่ผ่านมา 2001 – 2009

2000
การเดินทางบ่มเพาะประสบการณ์หลังจากเรียนจบปริญญาตรี ทำงานอาสาสมัครต่างๆ และเดินทางหนึ่งปี และหยุดที่การไปตั้งต้นทำ โครงการจุดตะเกียงเล่านิทานในสวน และสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้พึ่งตนเอง ที่พิษณุโลก

Global Community Gathering
January
การประชุมการศึกษาทางเลือกนานาชาติ ที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก การประชุมการศึกษาทางเลือกที่ทำให้เราได้เห็นผ่านประสบการณ์ รูปแบบ ปรัชญา แรงบันดาลใจการจัดการศึกษาทางเลือกนานาชาติ ในรูปแบบที่ตัวเองใฝ่ฝัน ได้พบกับจิม คอนเนอร์ ผู้เป็นครูและแรงบันดาลใจร่วมในการสร้างการศึกษาและชุมชนทางเลือกเพื่อเด็กชายขอบด้วยกัน

National Coalition of Alternative Communities and Schools Conference ( NCACS)
April 2001
ได้รับทุนไปเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายการศึกษาทางเลือกที่โรงเรียน Upatinas school, USA และได้ผ่านประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครในโรงเรียน สามเดือน ได้เดินทางดูงานโรงเรียนทางเลือกในอเมริกา

Upattinas School
September 2001-May 2002
ได้รับทุนให้ไปเรียน ในหลักสูตรครูทางเลือก ( Teacher Education Program ) ที่โรงเรียน Upatinas school 2 ปี

Whispering Seed
July 2002
เริ่มก่อตั้ง Whispering Seed Foundation (โครงการเมล็ดดาวกล่อมฝัน)

International Democratic Education Conference
June 2003
เข้าร่วมการประชุม IDEC ที่นิวยอร์ก และได้เดินทางแลกเปลี่ยนดูงานชุมชนการศึกษาทางเลือกในอเมริกา

Put WS foundation in Pittsanulok Natural Building and Permaculture Workshop
November 2003
เริ่มหาพื้นที่ตั้งโครงการในไทย ที่พิษณุโลก จัด Workshop Permaculture & Natural Building
เพื่อเป็นทุนสร้างโครงการ

Unlearning Society, Shishantar India
December 2003
ไปประชุมการจัดการศึกษา IDEC ในอินเดีย และเดินทางดูงานการศึกษาทางเลือกในอินเดีย

Found Whispering Seed along the Thai Burmese border
June 2004
ย้ายโครงการจากพิษณุโลกมาที่สังขละบุรี กาญจนบุรี
จัด Workshop Permaculture & Natural Building เพื่อเป็นทุนสร้างโครงการ

Haja, Korea Internship
July-August 2004
Tamariki school, New Zealand & Global Village School
December 2004
เริ่มรับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากเกาหลี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อเมริกา เพื่อมาเป็นอาสาสมัคร นักเรียนฝึกงานที่โครงการ

GIFTS films school
September-October 2004
เรียนที่โรงเรียนฟิล์มสคูล ที่แคนนาดา หกสัปดาห์

2005
เริ่มรับเด็กที่ไม่มีครอบครัว เด็กกำพร้ามาอยู่ในโครงการ
เริ่มทำโครงการอบรมครูกับกลุ่มคนไทยใหญ่ที่อยู่ชายขอบประเทศจีน
ทำงานกับเครือข่ายบ้านดิน ทั่วประเทศ

2006
IDEC ที่ออสเตรเลีย
นักเรียนฝึกงานนานาชาติ มาฝึกงานกับโครงการ
ความสัมพันธ์เริ่มเปราะบาง งานเริ่มล้น มีเด็กที่อยู่ในบ้านในโครงการ และเริ่มต้องเข้าไปช่วยงานสงเคราะห์กับผู้ปกครองของเด็กที่มีโรคเอดส์
เริ่มมีปัญหาในที่ดินเรื่องทางไสยศาสตร์ และจิมเป็นโรคมาลาเลียติดต่อกันหลายเดือน


2007
เริ่มทำงานหลักสูตรชุมชนและศูนย์วัฒนธรรมกะเหรี่ยงกับอบต.ไล่โว่
Whispering Seed เริ่มกลับมาย้อนดูการทำงาน ทิศทาง และความสัมพันธ์
เริ่มออกมาหาเครือข่าย Training NVC Life coaching
รับเคสเด็กวัยรุ่นแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่มีปัญหาทางจิตใจและโดนกระทำ ที่ส่งผลต่อทุกคนในโครงการต้องทำงานหนักและเสียพลังงานมาก
ความสัมพันธ์อยู่ในขั้นเปราะบางมาก เริ่มแยกห่าง ให้พื้นที่กันและกัน สร้างบ้านเด็ก และแยกพื้นที่การทำงาน

2008
Take a break with relationship and Whispering seed work
เริ่มเรียนรู้อยู่กับทุกข์ เริ่มเข้าเรียนรู้ ธรรมะ มองย้อนในประสบการณ์ Retreat

2009
Start Wandering Seed Project , Open Firefly River, alternative learning center
Master Degree at Asomsilp
ก่อตั้งโครงการเมล็ดดาวเดินทาง เปิดศูนย์การเรียนห้วยหิ่งห้อย สังขละบุรี
เข้าเรียนปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ สาขาบริหารการศึกษา สถาบันอาศรมศิลป์



















ภาคผนวก ๒ : หนังสือที่ผู้เขียนมีข้อมูลผ่านประสบการณ์รวมรวมที่จะเขียน
ในปี ๒๕๕๓-๒๕๕๕

หมวดการศึกษาทางเลือก
ประสบการณ์จากห้วยหิ่งห้อย ( โรงเรียนใสใส )
๑. สมุดพกห้วยหิ่งห้อย ( Firefly’s diary )
๒. หลักสูตรกิน-บินได้ ( Liberated Curriculum )
ประสบการณ์โรงเรียนทางเลือกนานาชาติ
๑. โรงเรียนออกแบบได้ ( Global Alternative Schools & Communities )
๒. ครูทางเลือก ( Inter- Indy teachers)
๓. นักเรียนโรงเรียนทางเลือก ( Inter-Indy students )
๔. งานแปลสารนิพนธ์โปรแกรมฝึกครูของ เสาวนีย์ สังขาระ Teacher Education Program, The way of elephant, Learning Journey through Siam, Upatinas alternative learning communities and school, PA, USA
งานแปลการศึกษาทางเลือก
๑. Field days, Deschooling our lives จาก Matt Hern
๒. How to grow school จาก Chris Albany Free school
การศึกษาปริญญาโท
๑. การบ้าน ป.โท Freedom in My Master Degree

หมวด Love & Relationship
มองผ่านประสบการณ์ความสัมพันธ์
๑. ระหว่างเรา In Between Space แรงบันดาลใจในรัก ที่กระซิบเห่กล่อมความฝันสวยงาม
๒. หนังสือภาพ พะเยาอินเลิฟ Payao In love
๓. ของขวัญวันเป็นหวัด ไข้หวัดสัญญาณของความ unhealthy in relationship, life, work, unbalance
๔. โลกน่าเอ็นดู Gentle conner มุมคนที่แปลกหน้ามาเจอกันและกลายเป็นคนที่เอ็นดูกันและกัน
หนังสือแปล หรือเลือกบทแปล จาก Buddha date, stuck, married
วรรณกรรมเยาวชน
๑. อยากเดินร่วมความฝันกับใครสักคน ๑๒ เรื่องของชีวิตเด็กๆ จากหมู่บ้านเวียคะดี้
๒. พ่อ My Hero forever ให้ตัวหนังสือกอดพ่อแทนลูก

หมวดศิลปะแขนงที่เจ็ด ภาพยนตร์
๑. ประสบการณ์การทำ Clay-animation ปรัชญาหลังบ้านดิน เทคนิค และบทเรียนรู้จากการลองทำการ์ตูนดินปั้น
๒. บทวิจารณ์หนัง-สารคดีเพื่อการเปลี่ยนแปลง ๑๒ เรื่อง
๓. การทำรายการทีวีสำหรับเด็กปฐมวัย จากการอบรมน้านิด และเราค้นคว้า ทดลองทำเพิ่มเติม

หมวด Sustainability
๑. Permaculture, Teaching Manual by Rose Mary
๒. Seed Saving by Rose Mary and Jon Jandai , Pun Pun Thailand
๓. มากกว่าบ้านดิน More than Mud House ประสบการณ์การทำบ้านดินของตนเองกว่าสิบหลัง

หมวดหนังสือภาพสำหรับเด็กและเยาวชน
จักรวาลแห่งความสุข-เมล็ดดาวเดินทาง
นิทานก่อนนอน
นิทานสุขภาวะทางเพศ

หมวดสารคดี
๑.สารคดี ๒๕๕๕ หากมีเพียงโลกอีกสามปี
๒. Education for youth at fringe การศึกษาสำหรับเด็กชายขอบ
๓. สารคดีสีรุ้ง








ภาคผนวก ๓: Book of Whispering Seed

The structure of the book

Starting at two individual passage and passion
Nao- butterfly searching for her journey, passion about service work within small community with children, create space for people to grow their passion and dream.
Jim- dreamt since 16 years old to adopt kids, passion and dived into passage of alternative education and life style, always search for alternative way of being with children, child rearing, ..

Both met….. In Thailand
Jim in a way to go to India, stop over at moo ban dek, find the dream should sound and smell like,,,,, organized Global Community Gathering …
Nao just finished one year of searching after college, being butterfly that just settle down in pittsanulok,,, work in community a while , see that alternative ed so important and necessary to build the community…. Looking for something of ed and sustainability
Meeting point at Global Community Gathering.
… who in it, Kazu, Haja, Russia, BTP…
Love at first sight,,, talk about dream at Pho neng seng bamboo hut and at BTP and MBD dock

Butterfly fall in love jouney
Meeting in state
At NCACS conference at Upattinas.
Uppattinas school type of alternative education, real experience of learning and teaching there
The way of elephant

Back to root; back to Thailand ,
searching for land to settle, research about global alternative school, community types…
Experiences of looking for the right land, end up at pittsanulok
Start to learn and do about Bridging sustainability and ed in NB and PC course,, what all benefit in that
Journey in new land , lost pittsanulok land
---rainbow caravan, new young voluntter energy—

Being at the edge, border land.
First fantacy… be in love with land, innocent children, learn from village, traditionally way of living. small creek, Hiyahi shank
Then reality come, small stolen from villagers, ghost story and cheep story, face with authority, start to feeling being alienated, Jim malaria episode
Black magic of the land, history of the land, slowly come out
Flooding come, bridge wash way
No way to get in, move or not feeling…
Challenge of the culture in town of ngos work, giving out
Challenge of work itself with each child
Challenge of relationship, Burden
Challenge of the area difficulty and real need problem

Experience cases of each child situation.
Aaeow
Mao Mao
nong
Ee wuay
Aaeow relative in Brothel
Win Mey Hei
Boon Pen & Phu Pha


How we overcome, how we get through
Succeed /Failed

Hope, next step-move
Can not just work small in village, but move to more communicate with society and world.
The new look, deep insight about being back in state this fall--- what I see in Throw away society, how to individual raise small awareness each day
Society of material, make people occupy in small little things in their kitchen tools, how much small detail little things you can find…so make u occupy to not have time to help other people or understand yourself.
- Gas here in us cheaper than Thailand, how possible, siriana movie
- Like diamond movie
Comfortable life and simple life, what different could it be

หัวข้อวิจัย จินตนาการแห่งทศวรรษ

๒๒ มกราคม ๒๕๕๓
ชื่อโครงการ จินตนาการแห่งทศวรรษในการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง และการบ่มเพาะจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ ของ เสาวนีย์ สังขาระ

ผู้ดำเนินโครงการ เสาวนีย์ สังขาระ

เกริ่นนำความเป็นมาและความสำคัญของโครงการ
ตั้งแต่วันแรกที่เข้าสู่สถาบันอาศรมศิลป์ ความตั้งมั่นที่เข้าไปที่สถาบันเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้หนึ่ง และสอง คือย่อยประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองในรอบทศวรรษ วันสอบสัมภาษณ์ การจับหัวข้อพูดฉับพลัน ที่ฉันได้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ต้องทันสมัย ใฝ่หาเรียนรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ในวันนั้นฉันจำได้ว่า ได้เชื่อตามคำนั้นไปประมาณหนึ่งนาทีครึ่ง และหันกลับมาย้อนถามว่าเราเชื่ออย่างนั้นจริงๆ หรือ
เมื่อถอยกลับมาใคร่ครวญ ตั้งคำถาม ฉันบอกว่าไม่เชื่อเช่นนั้น การเรียนรู้สำหรับฉัน ไม่ใช่การที่ต้องใฝ่ไป ใฝ่หา หากเป็นการสำรวจย้อนการกลับมาสำรวจตัวตนที่ฉันผ่านประสบการณ์จริงในเรื่องต่างๆ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เป็นวัตถุดิบ เป็นต้นทุน เป็นเสียงอื้ออึง เป็นขุมทรัพย์ที่อยู่ในตัวในตน มีเรื่องราวที่น่าจะนำมาเรียบเรียง เรียนรู้ เพื่อการรู้จักเข้าใจในตัวเอง และโลก เท่านั้นมิใช่หรือ ที่เราเกิดมาเพื่อ …
ห้องเรียนปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ ภาคสาขาการบริหารการศึกษา หนึ่งภาคการศึกษาที่ผ่านมา ฉันบันทึกการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากการเรียนรู้แลกเปลี่ยนในห้องเรียนทุกสัปดาห์ และยังอีกบันทึกประจำวัน การเรียนในห้องเรียน กับการเรียนรู้ในชีวิตทุกๆ วันของฉันเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เป็นหนึ่งเดียวกัน ฉันเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตลอดเวลา ฉันตั้งใจบันทึกให้เป็นหนังสือ ชื่อว่า “Freedom in My Master Degree - การบ้าน ป.โท” การย้อนกลับไปดูบันทึกการเรียนรู้ทุกสัปดาห์ของฉัน โดยเฉพาะจากบทความสุดท้าย ประสบการณ์การปลีกวิเวก วิชาธรรมชาติวิจักขณ์ ( Vision Quest ) ทำให้ฉันแจ่มชัดว่าโครงการการวิจัยและวิทยานิพนธ์ของฉันควรจะเป็นเรื่องอะไร
“ฉันมีพันธะที่จะต้องย้อนกลับไปมองสำรวจตัวเองในรอบทศวรรษแห่งการโชกโชน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เพื่อเรียนรู้ว่าข้อจำกัดเก่าๆ ของตัวเองนั้นอยู่ตรงไหน ศรัทธา ความเชื่อเรื่องใดที่มันยังเป็นเช่นนั้นและยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ในปัจจุบัน ความคิด จิตใจเกี่ยวกับโลก ตัวเอง สังคม ชีวิตคืออะไร เรารู้จักเข้าใจในตัวเองมากแค่ไหน และเส้นทางแห่งการบ่มเพาะ ค้นพบจิตวิญญาณของตัวเองดำเนินไปอย่างไร”
การเข้าป่าปลีกวิเวก เพียงวิชาหนึ่งอาจเป็นเพียงจุดกระตุ้น จุดขยับ หรือจุดเปลี่ยน
ฉันยังเขียนไว้ในบทความแววตาเด็กเป็นประกาย ศรัทธาในหัวใจของเขากลับมาอีกครั้ง จิตวิญญาณความเป็นครูก็ได้เติบโตและทำงานอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช
ในบทความนั้นฉันถามอาจารย์ประภาภัทรว่า จิตวิญญาณความเป็นครูคืออะไร จิตวิญญาณที่เป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาสติปัญญาของคนอื่น และฉันถามอาจารย์ว่า ทำไมคนบางคนจึงบ่มเพาะจิตวิญญาณที่เป็นอิสระกับอีกคนไม่ คำตอบคือต้องเจอทุกข์เข้ามาชนชีวิตจังๆ หรือพระมหาโอ๊ตบอกว่า คนเราจะเข้าหาธรรมะ เมื่อ เพราะเห็นภัย เห็นความกลัว เห็นทุกข์
แต่ท่านเจ้าคุณบอกว่า เราอยู่ในยุคสมัยที่เจริญมากแล้ว ไม่ต้องรอให้ทุกข์มาบีบ ให้เราใช้ปรัชญานำทาง เช่นอาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ สร้างวิธีบ่มเพาะจิตวิญญาณที่เป็นอิสระของตัวเองด้วยการเดินไปสู่อิสรภาพ
ของขวัญปีใหม่ที่ฉันได้ต้นปีนี้ คือ ความไม่สบายยาวนานสองอาทิตย์ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ฉันเป็นคนแรงมาก แข็งแรงมาก ไม่เคยเจ็บป่วย แต่การป่วยครั้งนี้เป็นการป่วยที่ร่างกายฉันเรียกร้อง และขอร้องให้ฉันหยุด นิ่งต่างหาก สาเหตุของโรคฉันวินิจฉัยด้วยตัวเองได้ว่า ธาตุลมแตกซ่าน
ขณะที่ไม่สบาย ฉันนึกถึงแต่คำพระว่า ชีวิตเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ชีวิตเล่นตลกกับฉันมาก และไม่เที่ยงมาก ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ในหลายๆ เหตุการณ์ ยกตัวอย่างเหตุการณ์การเรื่องงานทำวารสารแนวพุทธกับสถาบัน คุยไปคุยมาฉันได้งานประจำเป็น บรรณาธิการใหญ่ เงินเดือนสามหมื่นบาท สามปี ฉันตื่นเต้นกับจำนวนเงินว่าจะเอาไปใช้ที่ไหน คำนวณไปแล้วว่าจะไปแบ่งให้รุ่นน้องเท่าไหร่ ใช้หนี้จ่ายค่าที่ จ่ายค่าเทอม ส่งไปให้เด็กๆที่สังข-ละเท่าไร เอาไว้ทำโรงเรียนห้วยหิ่งห้อยเท่าไร แต่ก็ไม่แน่ใจไม่รู้จักใจตัวเองทั้งร้อย จนคณาจารย์สังเกตได้ และเรียกไปคุย ฉันก็ยังไม่ได้ให้คำตอบที่แน่ใจกับอาจารย์ เพราะฉันเองก็ยังไม่เห็นใจตัวเองที่แน่ชัด แต่ว่าพยายามทำใจให้ไปด้วยกัน แต่ว่ามีแผนการให้อาจารย์ชัด ไปดูบ้านเช่าใกล้ๆ สถาบันเพื่อตัดปัญหาทีละเรื่องแล้วลองดูใจว่าจะรู้สึกอย่างไร เห็นบ้านเช่าก็น่าจะพออยู่ได้ เอาน่ะ ลองดู แต่สองวันต่อมาโครงการเปลี่ยน กองบรรณาธิการกลางสลายไป ไม่ต้องทำงานประจำ ฉันยิ้ม รู้สึกว่าร่างกายเบาโล่ง เหมือนมีปีกบินได้ เหมือนได้เป็นอิสระอีกครั้งหนึ่ง
และเหตุการณ์ในความสัมพันธ์ ที่ฉันกลับไปสังขละคราวนี้ ฉันเห็นสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไปทั้งกับบุคคล สถานที่ ความโกรธ ความเจ็บ ความรู้สึกผิด เปลี่ยนเป็นความเข้าใจ เห็นสภาพตามที่มันเป็น ยอมรับเงื่อนไข ปัจจัยต่างๆ ได้ตามที่มันควรจะเป็น ไม่ยื้อ ไม่รั้ง ปล่อยวางได้ เมื่อปล่อยวางได้จริงๆ Let go ได้จริงๆ ฉันพบจับจิตวิญญาณที่เป็นอิสระของตัวเอง เห็นธรรมชาติของตัวเอง มโนภาพชีวิตที่ควรจะเป็นและฉันฝันใฝ่ แจ่มชัด
ฉันพบบ้านในใจของตัวเอง พบเส้นทางบ่มเพาะทางจิตวิญญาณที่เป็นอิสระของตัวเอง
ฉันค้นพบว่า ฉันต้องการเวลาที่จะนิ่ง ฉันควรที่จะหยุดชั่วขณะ ที่จะเรียนรู้จากข้างนอก และกลับมาเรียนรู้ สำรวจประสบการณ์การเรียนรู้จากชีวิต จินตนาการจริงๆ ของฉันในรอบทศวรรษ มันมากมายเกินคณานับและเรียบเรียงร้อยผ่านประสบการณ์ ออกมาเป็นถ้อยคำ เป็นตัวหนังสือ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และที่สำคัญ คือการเรียนรู้จักและเข้าใจในตัวเอง
ฉันยังตระหนักอีกว่า หากฉันจะเดินไปบนเส้นทางบ่มเพาะจิตวิญญาณอันอิสระของตัวเองแล้ว ฉันต้องเลือกเดินเส้นทางที่ฉันเชื่อและจินตนาการมันได้อย่างแจ่มชัด และมีปรัชญานำทาง ฉันไม่คิดว่าจะต้องเกิดอีกแล้ว และเชื่ออย่างสนิทใจว่าโลกนี้ดับสิ้นแน่ในวันหนึ่งไม่นาน ฉันอาจได้อยู่เห็น และตั้งปณิธานว่าสามปีข้างหน้านี้จะเรียนรู้และทำการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้คนเราบ่มเพาะจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ และตระหนักรักษาความสวยงามและขุมทรัพย์ที่โลกอันสวยงามที่เราอาศัยอยู่เพื่อเรียนรู้จักเข้าใจในตัวเองได้อย่างมีสันติสุข
ฉันต้องการบ่มเพาะความลุ่มลึกในประสบการณ์ของตัวเองในรอบทศวรรษ ด้วยการเรียบเรียงประสบการณ์จริงช่วงทศวรรษที่ผ่านมาของชีวิตฉัน พร้อมๆ กับการสร้างพื้นที่และชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างที่ตัวเองใฝ่ฝันมากว่าสิบปี วันนี้แจ่มชัด เพียงสองมือของฉันที่จะสร้าง ปั้นดินเป็นบ้าน ขุดดินปลูกอาหารของตัวเอง ถักทอเสื้อผ้าฝ้ายใส่เอง ผลิตยาสมุนไพร ทำโรงเรียนเอง มีครอบครัวกัลยาณมิตร มีเวลาคิด เขียนเรียงร้อยประสบการณ์เป็นตัวหนังสือ งานสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอด แลกเปลี่ยน สื่อสารเรื่องราวประสบการณ์ชีวิตจริงของชีวิตเล็กๆ ชีวิตหนึ่งที่มีจินตนาการและความฝันที่สวยงาม
เพียงเท่านี้ ฉันนับว่าฉันจบปริญญาชีวิตทุกใบที่ทุกสถาบันจะให้ได้ และฉันเกิดเพียงชาตินี้ก็เพียงพอ.



โครงการปฏิบัติการ
โครงการถอดความรู้การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ในรอบทศวรรษของผู้ดำเนินการวิจัย ออกมาเป็นหนังสือ จินตนาการแห่งทศวรรษ ของเสาวนีย์ สังขาระ

วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อศึกษาภูมิหลัง แรงบันดาลใจ พัฒนาการและประสบการณ์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้เขียนเองในรอบทศวรรษทั้งในเรื่องการจัดการศึกษาทางเลือก ความรักความสัมพันธ์ การทำงานเรื่องการสร้างชุมชนพึ่งตนเอง โดยการสำรวจการบ่มเพาะทางจิตวิญญาณที่เป็นอิสระส่งผลต่อการเลือกเดินชีวิตที่เลือกอย่างไรต่อไป
๒. รวบรวมแต่งความรู้ใหม่ที่ได้ตรงจากการผ่านประสบการณ์ของผู้ดำเนินโครงการ ออกมาเป็นหนังสือใน สามหมวดหมู่ ดังนี้ การศึกษาทางเลือก ความรักความสัมพันธ์ การทำงานการสร้างชุมชนพึ่งตนเอง

ระยะเวลาการโครงการและแผนการดำเนินงาน
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ - พฤษภาคม ๒๕๕๓ ( ทำงานเขียนอย่างน้อยวันละ ๔ ชั่วโมง )

วิธีการดำเนินการวิจัย
งานวิทยานิพนธ์จินตนาการแห่งทศวรรษ ของเสาวนีย์ สังขาระ มุ่งศึกษา ถอดประสบการณ์ แรงบันดาลใจ ภูมิหลัง วัยเยาว์ วัยสั่งสมประสบการณ์ บริบทภายนอกภายใน เหตุการณ์ เรื่องราว ผลงานต่าง ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งในทางทรรศนะคติ และพฤติกรรม รวมทั้งคนรอบข้าง สังคม โดยการสัมภาษณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคลและการงานของผู้วิจัยเอง และกลุ่มประชากร กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง

ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยนี้ศึกษา ภูมิหลัง ปัจจัย เหตุการณ์ เรื่องราว ของผู้ที่ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จากการพิจารณา ทบทวน สรุปบทเรียน ประสบการณ์ชีวิต ด้วยระดับหัวใจผ่านอารมณ์ ความรู้สึกทำให้เกิดปัญญา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง และการทำงานอย่างไร

กรอบแนวคิดในการวิจัย
ปัจจัย ภูมิหลัง แรงบันดาลใจ เรื่องราว วัยเยาว์ วัยสั่งสมประสบการณ์ บริบทภายนอก พัฒนาการของผลงาน
เหตุการณ์ เอกลักษณ์ในการสร้างงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. รวบรวมข้อมูล สรุปเส้นทางผลงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อจินตนาการ ความคิด ในการเลือกใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์ของผู้เขียนในรอบทศวรรษจากบันทึกการทำงาน พูดคุยสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือ

แผนการดำเนินงาน
รวบรวมข้อมูล สรุปเส้นทางผลงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อจินตนาการ ความคิด ในการเลือกใช้ชีวิตผ่านประสบการณ์ของผู้เขียนในรอบทศวรรษจากบันทึกการทำงาน พูดคุยสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือในเรื่องการจัดการศึกษาทางเลือก ความรักความสัมพันธ์ การทำงานเรื่องการสร้างชุมชนพึ่งตนเอง โดยการสำรวจการบ่มเพาะทางจิตวิญญาณที่เป็นอิสระส่งผลต่อการเลือกเดินชีวิตที่เลือกอย่างไรต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
หนังสือถ่ายทอดประสบการณ์สามชุด ในเรื่องการจัดการศึกษาทางเลือก ความรักความสัมพันธ์ การทำงานเรื่องการสร้างชุมชนพึ่งตนเอง

จดหมายปีใหม่

เรียนคณาจารย์ ค่ะ

ยังไม่ค่อยหายดี แต่ว่าดีขึ้นเยอะ เพิ่งกลับมานั่งหน้าโต๊ะคอมพิวเตอร์ได้สองสามวันที่ผ่านมาเองค่ะ ได้มีเวลาย่อย ย้อนทวน มองเข้าไปในตัวเองได้นิ่งอย่างที่ไม่ได้เคยมาก่อน ร่างกายเรียกร้องและขอร้องกระมังค่ะ
ส่งของขวัญวันไม่สบายต่อเนื่องกันสองสัปดาห์ค่ะ

๑. บันทึกธรรมชาติวิจักขณ์ กว่าสิบหน้าค่ะ เป็นการบันทึกอย่างจริงจังค่ะ ( ยังคงต้องแก้ไขและเพิ่มเติมอีกค่ะ )
๒. โครงการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์ ต่อยอด และตกผลึกกับตัวเองว่าการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่แท้จริง จะต้องกลับมาสำรวจที่ประสบการณ์ที่ตัวเองผ่านจริงและเรียนรู้ออกมาก่อนค่ะ เพื่อการเข้าใจและรู้จักตัวเองเป็นอันดับแรก เมื่อเนาว์นั่งเขียน มีพลังบางอย่างนำให้เราร้อยเรียง เรียนรู้ เรื่องราวประสบการณ์ที่เราเรียนรู้มาเป็นสิบปี ถึงเวลาที่ต้องมานั่งย่อย ทบทวน ถอดประสบการณ์กันแล้วค่ะ เนาว์อยากนิ่ง ให้เวลากับการทำงานเขียนนี้อย่างจริงจังและลงลึกค่ะ ภาคผนวกแนบตัวโครงการเป็นผลงาน โครงความคิดงานเขียน ที่เนาว์รู้สึกว่ามันมากมายและรอการเรียบเรียง เรียงร้อยมานานแล้วค่ะ ถึงเวลาสะสางกันสักทีค่ะ
๓. ความเป็นอยู่ เมื่อไม่สบาย อยู่กรุงเทพไม่ไหวค่ะ ไปพักผ่อนที่พิษณุโลกมา และกลับไปเจอว่าที่นั่นเป็นบ้านค่ะ บ้านที่ห่างหายมาสิบปี กลับไปทีไรก็รู้สึกว่าเป็นบ้าน และคราวนี้มีที่ทางของตัวเองแล้ว จึงตั้งใจกลับไปอยู่ที่พิษณุโลกเป็นฐานค่ะ ต้องขอลาออกจากการอยู่ประจำที่กรุงเทพค่ะ ทำให้เนาว์ไม่สบายจริงๆ และไม่ใช่ที่ทำให้เราได้แสดงศักยภาพที่แท้จริงออกมาธรรมชาติของเนาว์ และทำให้เนาว์รู้สึกว่าพึ่งพาผลิตปัจจัยพื้นฐานในชีวิตให้ตัวเองไม่ได้เลย เนาว์จะเริ่มย้ายไปวันเสาร์อาทิตย์นี้ค่ะ และเริ่มทำงานเขียนหนังสือตัวเองเลยสักที สร้างบ้านดินที่จะเป็นบ้านของตัวเองสักที เนาว์สร้างดินมาสิบหลัง แต่ไม่เคยสร้างบ้านตัวเองค่ะ จะต้องกินผักที่ปลูกเองแล้วค่ะ กลับไปพิษณุโลกคราวนี้เจอกี่ทอผ้าเก่าเก็บของตัวเองที่ชาวบ้านยังเก็บไว้ให้ในหมู่บ้านด้วยค่ะ ไปนั่งทอผ้ามาด้วย เห็นว่าตัวเองเริ่มทำโรงเรียนห้วยหิ่งห้อยได้ที่นั่นอีกครั้งค่ะ และอื่นๆของโครงการเมล็ดดาวเดินทางจะไปเติบโตที่นั่นค่ะ ต้องให้เวลาตัวเองนิ่งจริงๆ ค่ะ เสียงภายในตัวเองดังมากค่ะ
๔. เรื่องการทำงานวารสารแนวพุทธ ตามความเข้าใจและการพูดคุยครั้งล่าสุดกับอาจารย์อ๊อด ทางสถาบันได้วางให้เนาว์เป็นทีมบก. กับคณาจารย์อีก ๓ คน เพื่อตรวจเลือกคัดต้นฉบับที่ทางโรงเรียนต่างๆ กว่าร้อยบทความ ในสองเดือนก่อนที่วารสารจะออก เนาว์ขอว่าให้เป็นงานที่ทำโดยไม่ต้องไปอยู่ประจำที่สถาบันได้หรือเปล่าค่ะ หากไปประชุมเป็นครั้งคราว ก็จะได้ เนาว์จะขออยู่ที่พิษณุโลกเป็นหลัก และทำงานโครงการวิทยานิพนธ์ และเขียนเป็นหลักค่ะ การทำงานสื่อสารองค์กรให้กับสถาบัน เนาว์ยินดีรับใช้ทำงาน เรียนรู้ไปด้วยค่ะ แต่ว่าขอให้เป็นงานฟรีแลนซ์ที่ไม่ต้องเข้าไปทำประจำอยู่ที่นั่น ที่กรุงเทพค่ะ
๕. เรื่องการเรียน ป.โท เทอมสอง เนาว์อยากขอให้เป็นการเรียนด้วยการศึกษารายบุคคล ซึ่งก็คือ ทำโครงการย่อยเขียนหนังสือของเนาว์ แล้วเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มเดือนละครั้ง ไม่ต้องเข้าไปทุกสัปดาห์ แต่ขอให้มีคณาจารย์ที่ปรึกษาที่ต้องส่งงานเขียน ความคืบหน้าของการทำโครงการ เนาว์ให้เวลาในการเขียนหนังสืออย่างน้อยวันละ ๔ ชั่วโมงค่ะ และทุกอาทิตย์จะส่งงานเขียนให้ทางคณะ ตั้งใจว่าจะขอจบการศึกษาภายในเทอมการศึกษานี้ค่ะ ส่วนเรื่องค่าเรียนเพิ่งจะจ่ายของภาคการศึกษาแรกไปวันจันทร์ที่ผ่านมา ขอผ่อนผันจ่ายของภาคเรียนที่สองเดือนปลายภาคการศึกษานะคะ หรือว่ายังมีการขอทุนในภาคการศึกษาใหม่หรือไม่ค่ะ
๖. เนาว์เรียบเรียงงานเขียนการบ้าน ปโท อยู่ค่ะ เคยเรียบเรียงเพื่อที่จะลองส่งประกวดนายอินทร์อะวอร์ด ไม่ได้อหังการอะไรนะคะ เพียงแต่อยากลองดู อยากให้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในการเขียนสารคดีบันทึกการเรียนรู้ แต่ว่าก็เรียบเรียง ไปได้เยอะ และงานเขียนอื่นๆ เช่น สมุดพกห้วยหิ่งห้อย และ Liberate curriculum ประสบการณ์จากการทำห้วยหิ่งห้อยก็ทำออกมาเป็นหนังสือทำมือแล้ว เนาว์อยากส่งให้อาจารย์พิจารณาเรื่องการจัดพิมพ์ค่ะ หากอาจารย์ยินดี
น้อมรับคำแนะนำและคำตักเตือน ความคิดเห็นของอาจารย์ค่ะ ขอบคุณและขอโทษในทีเดียวกันนะคะ
ต้องใช้ความกล้าหาญและซื่อสัตย์กับตัวเองมากนะคะที่ ตัดสินใจแบบนี้ ฟังเสียงข้างในตัวเองอย่างเยอะๆ เลยค่ะ คิดว่าชัดเจนในตัวเองในระดับหนึ่งแล้วค่ะกับเส้นทางที่เลือกที่จะเดินให้นิ่งลึก และให้เวลากับการบ่มเพาะจิตวิญญาณอิสระของตัวเองด้วยปรัชญาและศรัทธาที่เราเชื่อ ฟังเสียงร่างกายตอนนี้ เป็นปรกติดี สูด ฮึด หายใจลึกๆ และตัดสินใจกด send

เสนอหัวข้องานวิทยานิพนธ์ครั้งที่ ๑ “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง”

เสนอหัวข้องานวิทยานิพนธ์ครั้งที่ ๑ “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง”
โครงร่างวิทยานิพนธ์
เรื่อง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง
( Experimental Learning for Transformation)

ผู้ดำเนินงาน นางสาวเสาวนีย์ สังขาระ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเรียนการสอนในโรงเรียนหรือในการฝึกอบรมที่จัดกันโดยทั่วนั้นเน้นให้ฝึกฝนสองส่วน คือ ส่วนหัวที่รวมถึงการคิด วิเคราะห์ ท่องจำ การรับและการให้ข้อมูล และส่วนมือคือทักษะต่างๆ ส่วนที่ถูกมองข้ามและไม่อยู่ในกระบวนการเรียนการสอนแลการอบรมที่ทำกันทั่วไป คือ ส่วนหัวใจ อันหมายถึงความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ในระบบโรงเรียนนั้นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกนี้เชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับเรื่องอำนาจอันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมครอบงำ คือคนที่มีอำนาจเท่านั้นที่สามารถแสดงออกอารมณ์ได้ เช่น ครูจะเป็นผู้ที่แสดงอารมณ์ต่างๆ ได้โดยเฉพาะความรู้สึกทางลบ ในส่วนของผู้เรียนนั้นระบบการศึกษาอนุญาตให้ผู้เรียนแสดงออกได้เฉพาะความรู้สึกที่ผู้ใหญ่ ครู หรือผู้มีอำนาจในสถานการศึกษานั้นต้องการเห็น
เราจึงเห็นการจัดการกิจกรรม อบรมส่วนใหญ่เน้นให้ผู้เรียนมีความสนุก มีความสุข จากการเล่นเกมส์ การเล่าเรื่องตลกของวิทยากร การพาไปเที่ยวเพื่อไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อ สนุกและมีพลังเพื่อทดแทนการเรียนรู้ที่เน้นส่วนหัว แต่ไม่อนุญาตและไม่ให้ความสำคัญในการพูดหรือแสดงออกกับความรู้สึกที่ยาก เช่น ความเศร้า ความโกรธ หรือแม้แต่ความกลัว เหล่านี้เป็นผลพวงของวัฒนธรรมครอบงำที่ให้ความสำคัญกับความคิดและตรรกะแต่ไม่เห็นคุณค่าของความรู้สึก
ความรู้และปัญญาไม่ได้มาจากการฟัง การอ่าน และการเห็นเท่านั้น คนเราได้ปัญญาจากการพินิจพิจารณาความรู้สึกทีเกิดขึ้นในประสบการณ์แต่ละอย่างด้วย และตัวปัญญานั้นยังชี้ทางให้เราอีกว่า ต่อไปนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเราหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร
การเปลี่ยนแปลง จะเกิดขึ้นจากการที่หัวใจได้สัมผัสกับความทุกข์ หรือสุข ที่นำไปสู่ปัญญา แรงผลักดัน และการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง
ด้วยเหตุนี้เอง การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จึงถือเอาการเรียนรู้ผ่านอารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนที่สำคัญพอๆ กับ หรือมากกว่าการเรียนรู้ที่หัวสมอง ความคิด ทักษะ เพราะการเรียนสองแบบหลังมีอยู่เกลื่อนกลาดทั่วไป และในสังคมที่ผู้คนถูกกดดันให้เก็บความรู้สึกและใช้ความคิดหรือตรรกะเป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหาเช่นบ้านเรานี้ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการแสวงหาปัญญาจากความรู้สึก

*การอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง ( Training for Transformation ) ส่วนหนึ่งจากการเขียนและเรียบเรียงโดยโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม






วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อศึกษาแนวคิด รูปแบบ กระบวนการ การจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง
๒. เพื่อศึกษาภูมิหลัง แรงบันดาลใจ พัฒนาการและประสบการณ์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งผู้เขียนเอง ผู้จัดกระบวนกร ผู้เข้าร่วมการอบรม และองค์กร ที่จัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยนี้ศึกษา ภูมิหลัง ปัจจัย เหตุการณ์ เรื่องราว ของผู้ที่ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จากการพิจารณา ทบทวน สรุปบทเรียน ประสบการณ์ชีวิต ด้วยระดับหัวใจผ่านอารมณ์ ความรู้สึกทำให้เกิดปัญญา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสังคมอย่างไร

กรอบแนวคิดในการวิจัย
แนวคิดเรื่องโครงสร้างสังคม คือการทำความเข้าใจสังคมที่เราอยู่ในระดับโครงสร้าง เพราะเชื่อว่าชีวิตของแต่ละบุคคลได้รับผลกระทบโดยตรงจากสังคมที่เขาอาศัยอยู่ โครงสร้างดังกล่าวคือตัวสถาบัน ความเชื่อ และระบบต่างๆ ที่กำหนดคุณค่า ความหมาย กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ และนโยบายให้ผู้คนในสังคมนั้นปฏิบัติตาม ตัวอย่างของโครงสร้างสังคมที่ว่านี้คือ ระบบกฎหมาย ประเพณี ธรรมเนียมและวัฒนธรรม สื่อ สถาบันและความเชื่อทางศาสนา ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา สถาบันที่เกี่ยวกับสาธารณสุข และสถาบันการเมืองเป็นต้น โดยเฉพาะในการทำงานกับผู้ที่ประสบทุกข์เป็นชายขอบนั้น โครงสร้างสังคมเหล่านี้เป็นเหตุ ปัจจัย และเงื่อนไขที่ทำให้เขาได้รับความไม่ยุติธรรม เราจึงเรียกว่าโครงสร้างความรุนแรง เพราะโครงสร้างแบบนี้เป็นความรุนแรงโดยอ้อม ซึ่งเราไม่อาจเห็นได้ชัดเจนเหมือนเช่นความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยตรง ความเข้าใจแนวคิดเรื่องโครงสร้างสังคมนี้จะเป็นตัวปัญญาทำให้บุคคลหลุดพ้นจากความคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาส่วนตัว เป็นกรรม และการลงโทษตัวเอง ไปสู่วิธีการและกลยุทธ์ในการทำงานและสร้างขบวนการที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบของสังคม

การพัฒนาจิตวิญญาณ คือ การสร้างสันติภายใน การฝึกสติ ความสุข ความสงบ ความมั่นใจ รวมถึงการบ่มเพาะปัญญาและเมตตา เพื่อทำความเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นปัญหาของตนเอง ผู้อื่น และความท้าทายที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมั่นคง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การคิดวิเคราะห์และสอนทักษะบางอย่างไม่เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนที่ประสบกับความรุนแรงและการกดขี่ซับซ้อนหาทางแก้ปัญหาได้ แต่การช่วยให้ผู้เรียนมีสติปัญญา และความสงบภายในจะเป็นฐานหลักของการแก้ปัญหาทั้งในระดับส่วนตัวและโครงสร้าง และมีความยั่งยืนในการทำงานเพราะทำด้วยจิตที่มีสติ สงบ มั่นคงและมีความหวัง

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยแนวคิดหลักหลายส่วนทั้งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง แนวความคิดสตรีนิยม แนวคิดเรื่องอำนาจ ทฤษฎีพื้นที่การเรียนรู้ แนวคิดมนุษย์นิยมและพุทธปรัชญา แนวความคิดและบทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการเรียนรู้ การศึกษาและการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

สมมุติฐานในการวิจัย(ถ้ามี)
นิยามศัพท์เฉพาะ
การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
กระบวนการ
พื้นที่การเรียนรู้/ชุมชนแห่งการเรียนรู้
อ่าง (Container)
ชนชายขอบ


วิธีการดำเนินการวิจัย
งานวิทยานิพนธ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ มุ่งศึกษา ลักษณะอาการของการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ที่นำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งในทางทรรศนะคติ และพฤติกรรม รวมทั้งคนรอบข้าง สังคม โดยการสัมภาษณ์ถอดประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคลและการงานของผู้วิจัยเอง และกลุ่มประชากร กรณีศึกษาที่เป็นกระบวนกร โครงการ และองค์กรที่จัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง และจากเรื่องเล่าของผู้ผ่านการอบรมการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

โครงการปฏิบัติการ
๑.โครงการทดลองอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” กับครูโรงเรียนรุ่งอรุณ และนักศึกษา ป.โท อาศรมศิลป์ และทีมงานเมล็ดดาวเดินทาง
๒.โครงการประสานความร่วมมือ หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับเด็กชายขอบ ห้วยหิ่งห้อย และโรงเรียนรุ่งอรุณ

ประชากร /กลุ่มตัวอย่าง/กรณีศึกษา
• กรณีศึกษาจากประสบการณ์การชีวิตและทำงานของผู้ทำงานวิจัยเอง
• กรณีศึกษา Self-Transformation ของบุคคลในการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย 5 ยุค
• กรณีศึกษาองค์กรจัดการศึกษาผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
• กรณีศึกษาการจัดศึกษาทางเลือกนานาชาติที่ผู้วิจัยผ่านประสบการณ์
• การศึกษาการองค์กร บุคคลสื่อสารมวลชนในตลาดที่สร้างรสนิยมการคิดนอกกรอบและสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้สังคม
• ถอดรหัสภาพยนตร์สารคดีที่ท้าทายการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก

ระยะเวลาการทำวิจัยและแผนการดำเนินงาน
พฤศจิกายน ๒๕๒ – ธันวาคม ๒๕๕๓








ตัวอย่างกรณีศึกษา / ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง/ ประเด็นสำคัญในการศึกษา

ประเด็นสำคัญในการศึกษา
๑. จากการเปลี่ยนแปลงทรรศนะคติ สู่พฤติกรรมของตัวเอง
๒. จากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่คนรอบข้าง ชุมชน
๓. จากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่สังคม
๔. จากการเปลี่ยนแปลงสู่ระดับนโยบาย และแนวทางการจัดการศึกษาให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น

ตัวอย่างกรณีศึกษา
กรณีศึกษาจากประสบการณ์ของผู้ทำงานวิจัย
- ถอดบทเรียนศูนย์การเรียนห้วยหิ่งห้อยที่สังขละบุรี กาญจนบุรี
- โครงการทดลองอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงกับครูรุ่งอรุณ นักศึกษา ป.โท และทีมงานเมล็ดดาวเดินทาง
- โครงการประสานความร่วมมือหลักสูตร “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงของสำหรับเด็กชายขอบ” ระหว่างห้วยหิ่งห้อย โรงเรียนรุ่งอรุณ
กรณีศึกษาองค์กรที่จัดการศึกษาอื่นในประเทศไทย
- ศูนย์การฝึกอบรมโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม
- ต้นกล้า โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒนา
- โครงการ ยุวพุทธิชน ประชา หุตานุวัตร
- โครงการยุวชนสร้างสรรค์ ครูอู๊ด สุราษฎร์ธานี
- โรงเรียนรุ่งอรุณ
- บ้านกาญจนา
- GLT พม่า ของอาศรมวงศ์สนิท

กรณีศึกษานานาชาติจากประสบการณ์การศึกษาทางเลือกต่างนานาชาติของผู้ทำการวิจัย
โรงเรียนทางเลือก
- Upattinas school, PA, USA
- Tamariki School, New Zealand
- Global Village School, CA, USA
- The Community School

โรงเรียนฟิล์มสคูลทางเลือก
- Moscow Film School, Russia
- Haja, South Korea
- GIFTS, Gulfs Island Film and Television School, Vancouver, Canada

ศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์การเรียน
- Training for Change, Philadelphia, USA
- Pristle Turtle, Vancouver, Canada
- Unlearning Society, Shishantar
- Boorubin, Australia

โปรแกรมทางเลือก
- The Way of Elephant, Learning journey through Siam, USA-Thailand
- Teacher Education Program ( NCACS )

องค์กรเครือข่ายการศึกษาทางเลือก
- Global Community Gathering , Thailand and others
- National Coalition of Alternative Communities School, NCACS, USA
- Alternative Education Revolution Organization (AERO)
- International Democratic School Conference (IDEC)

การศึกษาการองค์กรสื่อสารมวลชนในตลาดที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมนอกกรอบ
บุคคล
- ประภาส ชลศรานนท์
- ศุ บุญเลี้ยง
นิตยสาร
- A day, Open, Way
- ขวัญเรือน
- Fuse-Bioscope
- ปาจารยสาร
- สานแสงอรุณ
สำนักพิมพ์
- สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา
- Other Indian Press, India

กรณีศึกษาจากการสัมภาษณ์ความคิดคนในการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย ๕ ยุค
ยุคปรมาจารย์ ขบถยุคแรก ปู่-ย่า ปราชญ์ ของแผ่นดิน
- อาจารย์ระพี สาคริก
- สุลักษณ์ สิวรักษ์
- อาจารย์ที่เป็นหมอที่แอฟริกา
- ครูที่เขียนมานะมานี

ยุคสืบทอดเจตนา รุ่นพ่อแม่
- รัชนี ธงไชย และ พิภพ ธงไชย มูลนิธิเด็กและโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
- อาจารย์ประภาภัทร และพี่แบน นิยม รุ่งอรุณ
- ประชา หุตานุวัตร อาศรมวงศ์สนิท
- อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้จัดการอบรมแนวคิดสตรีนิยม การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาจิตวิญญาณ
ยุครุ่นพี่ ก่อเกิด
- ณัฐฬส วังวิญญู
- พี่อ้วน ต้นกล้า
- พี่หลิน ไพรินทร์ สันติวิธี

ยุคน้องใหม่ ขบถเล็กๆ
- เสาวนีย์ สังขาระ
- วัชรินทร์ สังขาระ
- วิจักษ์ พานิช
- มุทิตา พานิช
ยุคเด็กและเยาวชน
- เด็กจากโรงเรียนรุ่งอรุณ
- เด็กจากห้วยหิ่งห้อย สังขละ
- เด็กจากบ้านกาญจนา

กรณีศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในภาพยนตร์
- Freedom Writer, Freedom Writer Foundation
- Micheal More
- Jennifer, Cooperation
- Fast Food Nation







สารบัญ / เนื้อหา
๑. บทนำ ฐานคิดงานวิทยานิพนธ์/วิจัย
สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา นายแพทย์ประเวศ
การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Experimental Learning for Transformation)
การศึกษาแนวพุทธ (Engage Buddhism)
การศึกษาเรื่องเพศวิถี (Feminism)
การรู้เท่าทันสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Media Literacy for Change)
Self transformation ของ Paolo Firere

๒. วิเคราะห์เหตุปัจจัย
ก่อเกิดและจุดเปลี่ยนการศึกษาโลก
ก่อเกิดและจุดเปลี่ยนการศึกษาไทย
กระแสการเติบโตของโลก
บทบาทสื่อมวลชน
กระแสปัจเจกชน
ก่อเกิดชนชายขอบ

๓. การสำรวจเชิงวรรณกรรม คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย แนวคิด ทฤษฎี และที่เกี่ยวข้อง
นิยาม - ความหมาย
“การศึกษา”
“การศึกษาทางเลือก”
การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Experimental Learning for Transformation)
การศึกษาแนวพุทธ (Engage Buddhism)
การศึกษาเรื่องเพศวิถี (Feminism)
การรู้เท่าทันสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Media Literacy for Change)


๔. วิเคราะห์เนื้อหาและนัยยะ
ปัญหานำวิจัย
วัตถุประสงค์
ขอบเขตการวิจัย
วิธีการดำเนินงานวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูล
• กรณีศึกษาจากประสบการณ์การทำงานของผู้ทำงานวิจัย
• กรณีศึกษา Self-Transformation ของบุคคลในการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย 5 ยุค
• กรณีศึกษาองค์กรจัดการศึกษาผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
• กรณีศึกษาการจัดศึกษาทางเลือกนานาชาติที่ผู้วิจัยผ่านประสบการณ์
• การศึกษาการองค์กร บุคคลสื่อสารมวลชนในตลาดที่สร้างรสนิยมการคิดนอกกรอบและสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้สังคม
• ถอดรหัสภาพยนตร์สารคดีที่ท้าทายการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อจำกัดในการวิจัย

๕. ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในอนาคต และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในอนาคต
ข้อเสนอจากภาคการศึกษาทางเลือก
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการปฏิรูปการศึกษา
ข้อเสนอด้านการเชื่อมโยงและการประยุกต์ใช้

๖. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ภาคผนวก
๑. บทสรุปเส้นทางผลงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อเอกลักษณ์ในผลงาน ของผู้วิจัยเอง Researcher’s self Transformation

๒ ส่วนเสริมวิธีวิจัย: โครงการปฏิบัติการของผู้ทำการวิจัย
• หลักสูตรนิเทศศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับเยาวชนชายขอบ
• การทำงานสื่อสารองค์กรกับโรงเรียนรุ่งอรุณและสถาบันอาศรมศิลป์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในสังคม

คำถามนำวิจัย

คำถามนำวิจัย/วิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์ หรือ งานวิจัยมีไว้ทำอะไร จุดมุ่งหมายของมันมีไว้ทำไม ทำไมนักศึกษาต้องทำวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์มันคืออะไร วิทยาแปลว่า วิชา ความรู้ นิพนธ์ แปลว่า การเขียน การแต่ง “การแต่งความรู้ใหม่”
วิชาแปลว่าอะไร พอพูดถึงคำว่าวิชา แล้วรู้สึกอย่างไร โอ๊ย ไม่เรียนวิชานี้ได้รึเปล่า เรามีทัศนคติดีๆ กับคำว่าวิชาหรือเปล่า พูดถึงคำว่าวิชา รู้สึกหนักเลยใช่มั๊ย
การสร้างศัพท์ทางวิชาการ คำราชาศัพท์ เป็นการสร้างอำนาจ แบ่งชนชั้นในการสื่อสารและการเข้าถึงความรู้กันหรือเปล่า ในสารเดียวกัน คำเดียวกัน ไม่ได้ให้ความหมายต่างกัน กิน แดก ฉัน รับประทาน ก็คืออาการเอาอาหารใส่ปาก เคี้ยว ย่อย
มาทำวิทยานิพนธ์ให้กินได้-ย่อยง่ายกันมั๊ย
ทำภาษาในงานวิจัยให้เป็นกันเองได้หรือเปล่า
ถามกันอีกว่างานวิจัย/ วิทยานิพนธ์มีไว้ให้ใครอ่าน เฉพาะอาจารย์ คนในแวดวงวิชาการเท่านั้นหรือ กลุ่มวัยรุ่นของเราล่ะ หรือว่ากลุ่มเด็กนักเรียน อนาคตของชาติ มีงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ที่ใช้ภาษาที่สื่อสารกับเขาได้หรือไม่
คำถามที่ฉันตั้งกับการทำวิทยานิพนธ์ งานวิจัยในระดับการศึกษาระดับ ป.โท มีอยู่ว่า งานวิจัยที่ทำไปจะขึ้นหิ้งหรือเปล่า หรือว่าถ้าได้ขึ้นหิ้งอยู่บนห้องสมุด แล้วคนอ่านหยิบมาอ่านแล้วรู้สึกว่า แค่หัวข้อก็เข้าใจยาก ดูคำแปลความของชื่อหัวข้อแล้วก็ยังต้องมาตีความอีกว่าหมายความว่าอะไรน่ะ แล้วเมื่อหยิบมาก็รู้สึกว่ายากที่จะย่อยจัง
อยากสร้างนวัตกรรมใหม่ ในงานวิทยานิพนธ์/งานวิจัยที่ใช้ภาษาที่ย่อยง่าย อ่านสาระในเนื้อหาแล้วรู้สึกว่า เจ๋งน่ะ เป็นแรงบันดาลใจ อยากลุกขึ้นมาทำอะไรดีๆ มีความหมายสักอย่าง น่าทำ น่าทำ น่าเรียนรู้ ทำให้น่าสงสัย ตั้งคำถามกลับ หยิบอ่านแล้ววางไม่ลง
หัวข้อที่เป็นวาระสำคัญของผู้เขียน คือ เรื่องของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง
(Experiential Learning and Transformation Learning for Change) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมกันใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ระดับหัวใจ ความรู้สึก ช่วยดึงให้ผู้เรียนเอาปัญญาจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะเรียนหรือในขณะที่ผ่านประสบการณ์นั้น ผ่านการทบทวน และนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง และคนรอบข้าง และกว้างไปสู่ชุมชนและสังคม
ตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราเชื่ออย่างไรกับ Self Transformation ที่เราเชื่อ อาการของมันเป็นอย่างไร คุณลักษณะของมันเป็นอย่างไร แล้วคุณประโยชน์คุณค่าของเขาล่ะ สุดท้าย บทวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยเชิงปฏิบัติการของข้าพเจ้านี้ จะมีการต่อยอด สร้างทางเลือกใหม่ในการจัดการศึกษาเรียนรู้ และนำไปโน้มน้าว ปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงอะไร อย่างไรให้กับตัวเองและสังคม

บทความที่สิบเอ็ด ธรรมชาติวิจักขณ์ Vision Quest

บทความที่สิบเอ็ด
ธรรมชาติวิจักขณ์ Vision Quest

๗ นาฬิกา ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๒
สถานีรถไฟเชียงใหม่
“รถไฟจะมาช้าสองชั่งโมง”
พอดีที่ฉันจะใช้เวลารอ ตั้งคำถามและปณิธานชีวิต มีเสียงเรียกร้องดังก้องในใจ ตั้งหลักไมล์ว่าจะให้การเดินทางครานี้เป็นการเดินทางของการบ่มเพาะเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ ความนิ่ง ความลึก สงบ แน่วแน่ ละเอียดอ่อน อ่อนโยนและนอบโน้มต่อธรรมชาติ ผู้อื่น สรรพสิ่ง รวมทั้งตัวเองอย่างไร

“รถไฟมาจริงๆ ๙.๓๐ ”
วิชา“ธรรมชาติวิจักขณ์” วิชาสุดท้ายปลายเทอมแรกของการศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา เป็นหนึ่งวิชาที่ฉันเฝ้ารอมาตลอดเทอม และคิดว่าฉันจะได้อะไรมากมาย และอย่างที่ได้คาดหวัง ฉันแปรเปลี่ยน (Transform) เพียงอดอาหารสี่มื้อในป่า อยู่คนเดียว อย่างไร
เจอพี่ๆ ทีมนครสวรรค์ก่อน ได้น่งคุยกับอาจารย์เปี๊ยก อาจารย์เปี๊ยกมักมีเรื่องที่ได้ไปเรียนรู้มา ได้ยินมา ได้ฟังมา มาเล่าให้ฟังในห้องเรียน ที่สถานีรถไฟเชียงใหม่นี้ อาจารย์เปี๊ยกเล่าให้ฟังเรื่องคุณกวิช เป็นคนคิดจินตคณิต อายุ ๖๐ ปี เรียนที่จิตตปัญญา เป็นคนเรียนรู้มาก บ้าเรียนมาก เขาว่าเสียค่าเรียนเป็นเก้าหลัก ฉันนั่งนับ อาจารย์เปี๊ยกคำนวณให้อย่างว่องไวว่าเป็นร้อยล้าน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นทันทีคือว่า คนเราใช้จ่ายเสาะหา เรียนรู้จากข้างนอกมากมายมหาศาล ทั้งๆ ที่หรือในที่สุด ขุมทรัพย์ ความรู้ ความเข้าใจที่เราต้องเรียนเป็นสิ่งแรก คือ รู้จักและเข้าใจในตัวเองมิใช่หรือ
รถสองแถวแดงมารอรับแต่เช้า ขึ้นคันละสิบคน มีมาสองคัน มีพระเดินทางมาด้วยหนึ่งรูป
ในรถสองแถว ฉันคุยกับอาจารย์เปี๊ยก พี่เอง พี่จือ แกงค์นครสวรรค์ว่าไปดูงานที่สัตยสัยเป็นอย่างไรบ้าง เล่าให้กันฟังบ้าง อาจารย์ว่าที่โรงเรียนสัตยาสัย เตรียมการเด็กให้อยู่อย่างพึ่งตนเอง และเมื่อโลกแตก น้ำท่วมโลกจะอยู่กันได้ ตั้งแต่เลือกสมรภูมิที่ตั้งโรงเรียน สอนให้เด็กเป็นคนดีแล้วจะเก่งเอง ตารางแต่ละวันเป็นอย่างไร-- ที่นั่น อาจารย์อาจองอ่อนโยนแค่ไหนกับเด็กๆ กอดเด็กๆ ที่นั่นทุกวัน ฉันว่านั้นเป็นไฮไลท์ที่ทำให้ฉันอยากไปดูงานที่นั่น ไปดูอาจารย์อาจองกอดกับเด็กทุกวัน และฉันจะกอดด้วยคน นั่นเป็นภาพที่ทำให้ฉันเสียดายมากที่ไม่ได้ไปดูงานที่สัตยสัยด้วย เพราะฉันจอจ่ออยู่การทำงานการ์ตูนดินปั้น จนอาจารย์เปี๊ย กแซวว่าคิดว่าฉันลาออกไปทำการ์ตูนแล้ว
จากจุดเริ่มต้นจากการสนทนาเรื่องการดูงานที่สัตยสัย นำเราเข้าสู่บทสนทนาที่เราเรียกกันว่าวิกฤตการโลกร้อน ที่เข้าเนื้อเข้าตัวฉันจริงๆ แล้วช่วงนี้ เพราะว่าฉันกลับมาอยู่ประจำที่กรุงเทพติดต่อกันมาสี่เดือน หลังจากที่ตั้งใจลาออกจากกรุงเทพอย่างถาวรตั้งแต่เรียนจบปริญญาตรี ฉันกลับมากรุงเทพ เพราะการเรียนปริญญาโทด้วยประการหนึ่ง การอยู่กรุงเทพทำให้ฉันหายใจไม่ออก กลัวมลพิษ ไม่มีที่ทางจะหายใจ ไปไหนก็มีแต่ผู้คน รถรา ตึกอาคาร อากาศก็ร้อนเข้าทุกอณูขน รู้สึกว่าพึ่งตัวเองเรื่องอะไรในปัจจัยพื้นฐานไม่ได้เลยที่กรุงเทพ อาหารการกินก็ไม่ปลอดภัย และสะดวกเกินจนล้นมาลงพุง
ฉันเชื่อว่าโลกแตกแน่ จากวิถีที่คนส่วนใหญ่เป็นอยู่ วิถีคนเมือง
แล้วอาจารย์เปี๊ยกก็เล่าให้ฟังว่ามีอาจารย์ดอกเตอร์คนหนึ่งพูดว่าหากน้ำท่วมโลก โลกแตกขึ้นมาจริง จะมีคนอยู่ ๓ ประเภท
๑. หาแต่ทางหนี
๒. สติแตก แม้แต่หนีก็ไม่รู้จะหนีอย่างไร
๓. มีสติ หาทางแก้ไขที่สาเหตุตั้งแต่ปัจจุบัน มี everyday mind
- - - -
คืนแรก ณ หมู่บ้านสบลาน
“คนเรากลัวบ้างก็ดี กลัวมากไปไม่ดี ไม่กลัวเลยก็ไม่ใช่” พะติจะแยะ
เวลากลัวก็ให้รู้ว่ากลัว พอเรารู้แล้วกลัวจะหายไป แต่ก็จะกลับมาใหม่ บทสนทนาที่เราคุยกันคืนแรกกับพะติต่างๆ และชาวบ้านที่มาต้อนรับ พะติจะแยะมีกระดิ่งแห่งสติ เคาะให้เรานั่งเงียบๆ ร่วมกัน ก่อนที่จะคุยแลกเปลี่ยน บทสนทนาคืนนั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเตรียมตัวก่อนเดินทางเข้าป่า ว่าด้วยเรื่องความกลัวกันพอประมาณ และว่าด้วยเรื่องการอดอาหาร ว่าคืนที่อดอาหารจะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ เยอะมาก เราจะมีปฎิกิริยากับดิน แสง ระหว่างวัน พลบค่ำ ว่าด้วยเรื่องความกลัว เรากลัวอะไร ถ้ากลัวผีเราก็ผีตัวหนึ่ง กลัวความมืด กลัวสัตว์มีพิษ พระมหาโอ๊ต พระจากวัดใหญ่อยุธยา ว่าด้วยเรื่องแผ่เมตตาสยบความกลัวและมีบทสวดมนต์มาแจกด้วย

“ถามตัวเองว่ากลัวอะไร กลัวใจตัวเองมากที่สุด”

ฉันเลยถามพระว่า ถ้ากลัวตัวเองสวดแผ่เมตตาให้ตัวเองได้หรือเปล่า
พระตอบว่า จริงๆ แล้วเราต้องแผ่เมตตาให้ตัวเองก่อนที่จะแผ่เมตตาให้กับใครอื่นได้
ฉันสนทนาต่อว่า ไม่เคยเรียนรู้มาก่อนเลยว่า แผ่เมตตาให้ตัวเองก่อนได้ ถึงได้เผาตัวเองอย่างนี้ มีบทแผ่เมตตาให้ตัวเองจริงๆ หรือ พระอาจารย์เปิดให้ดูหน้าที่ – มีจริงๆ ด้วยแผ่เมตตาให้ตัวเองก่อนด้วย
- - - -
เช้าที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๒
“ฉันกลัวกลางคืน แต่ตื่นรอรับรุ่งอรุณ”
เมื่อคืนแรกที่นอนในป่า การเข้าไปอยู่ในเต้นท์เป็นความปลอดภัยสำหรับตัวฉันจริงๆ เมื่อคืนฉันจำได้ว่ากลัวกลางคืน และเหนื่อยกับการคิด คิดมาก และที่มากกว่าคือรบกับความคิดที่ว่าจะพยายามที่จะไม่คิด หยิบหนังสือสวดมนต์ที่พระอาจารย์ให้มานอนแผ่บนผืนทรายหนุนขอนไม้ บทแรกที่เปิดคือบทสวดมนต์แผ่เมตตาให้กับตัวเอง แล้วก็หลับไปตั้งแต่ไม่แสงยังไม่หมดหน้าเต้นท์ ตื่นขึ้นเจอแสงสุดท้ายของวันที่เขาเรียกกันว่าผีตากผ้าอ้อม ก็เข้าไปนอนในเต้นท์ต่อ นอนดูแสงที่ค่อยๆ หายตัวไปอยู่ในที่ปลอดภัย สุดท้ายลุกขึ้นมาล้างหน้า แปรงฟัน เปลี่ยนเสื้อผ้าที่อุ่นกว่า และกลับเข้ามานอน กายไม่สบาย คิดว่านอนบนผืนทรายน่าจะนุ่ม จะนอนดูดาวก็ไม่ได้ดู เพราะเอาผ้าคลุมเต้นท์คลุมที่ยอดเต้นท์ เพราะกลัวหนาวน้ำค้างมากกว่าอยากได้ความโรแมนติคนอนดูดาว เตรียมกล้วยมากินสองใบมื้อเย็น เพราะเราออกมาวิเวกก่อนคนอื่นเขา ก็ไม่ได้กิน เพราะไม่รู้สึกหิวใดใด อยากนอน รู้สึกว่าร่างกายเรียกร้องว่า เหนื่อย เหนื่อยนักก็พักผ่อน นอน
ฉันตระหนักว่าฉันกลัวกลางคืน กว่าจะข่มตาหลับ หรือเรียกว่าพยายามข่มตาให้หลับ เหมือนกับว่าเหล่าแมลงก็ร่วมใจกันมาตั้งวงดุริยางค์ บรรเลง ฉันตั้งชื่อให้วงดุริยางค์ของแมลงวงนี้ว่า “เซ็งแซ่” เพราะมันทำให้กลางคืนคืนนี้เซ็งแซ่และกังวานก้องป่าจนน่าอัศจรรย์ใจ เสียงสายน้ำก็ดูเหมือนจะช่วยกันบรรเลงดังขึ้น ดังขึ้น แต่เสียงหัวใจของฉันก็ยังเต้นแรงกว่า ความมืดถาโถม มืดแล้วมืดเล่า ดูไม่มีความหวังว่าจะสว่างในไม่ช้า..
ฉันเป็นคนไม่ฝันตอนกลางคืนนัก แต่คืนนั้นฉันฝันถึงออฟฟิตเก่าที่สังขละบุรี ว่ามันกลายเป็นร้านอาหาร และคู่รักเก่าของฉันนั่งอยู่กับเด็กทารกสองคน รู้สึกว่าในฝันเราเป็นสุขนะที่เห็นภาพนั้น มันหมายถึงว่าความฝันของเขาเป็นจริง และในภาพนั้นไม่มีเรา
รุ่งอรุณตื่นจากฝัน ฟ้ายังไม่สาง แต่เสียงดุริยางค์ของแมลงที่ฉันได้ยินและคุ้นชินกับมัน แสงแห่งรุ่งอรุณก็เป็นแสงแห่งความหวังให้เรารอดูฟ้าสว่าง บิดขี้เกียจ และออกมาเต้นรำ
ก่อนที่ฟ้าจะสางฉันก็จ๊ะเอ๋กับความกลัวของตัวเอง รู้สึกถึงความกลัวของตัวเอง การตัดสินใจออกมาจากสังขละ เหลือไว้แต่ห้วยหิ่งห้อย อีกติ่งเดียวที่เรายังผูกไว้ แล้วถ้านี่เราปล่อยปมนั้นไป ฤาจะกลับไป เมื่อคิดเช่นนั้น ในใจข่มขื่นมาก กลัวมาก กลัวแบบมวนๆหม่นๆ ในท้องน้อยจนรู้สึกได้ กลัวเรื่องอะไร กลัวเรื่องความสัมพันธ์ กลัวเรื่องชุมชน กลัวว่าจะต้องไปอยู่ท่ามกลางพายุ กลัวว่าจะไม่มีกัลยาณมิตร บีบรัดตัวเองมาก เพียงแต่คิด หรือว่าเราหนี สิ่งที่ตัวเองกลัวมากๆ คือวิ่งหนี และไม่ต้องการรู้สึกผิดกับตัวเองและคนอื่นที่หลัง
ฤาเราเป็นตัวเอง รู้จักตัวเองดีพอ รู้จักศักยภาพ ไม่ใช่หนี -ฉันจะไม่หนี -
ขณะนั้นกองไฟน้อยๆ ลุกขึ้นมาอีกครั้ง ฟ้าสว่าง แจ้งแล้ว ลมพัดมา ใบไม้ร่วมพรู ฉับพลันราวกับว่าใบไม้ทุกใบจากต้นไม้ทุกต้นในป่านี้ระบัดใบลงมาสู่พื้น ระบัดใบมาตรงเกาะกลางแม่น้ำ ซึ่งเป็นที่เรากลางเต้นท์เป็นที่อาศัยอยู่ กองไฟลุกพรือ ฉันถือว่ามันเป็นสัญญาณยืนยันความคิดชั่วขณะนั้นว่า - -
ฉันกลัวกลางคืนแต่ตื่นรอรับรุ่งอรุณ ฉันรู้สึกถึงความเป็นมิตร พลังที่เกื้อกูล ณ ยามรุ่งอรุณ เป็นเวลาของฉัน เวลาที่ฉันใส เริ่มต้นใหม่กับวัน กับปัจจุบันนั้นอย่างมีความหวัง อย่างสดใส อย่างใคร่ครวญ กระจ่างใส
แล้วลมก็พัดมาอีกวูบ ให้ใบไม้ทั้งป่าระบัดใบ ร่วงพรูลงมาอีกครั้ง กองไฟน้อยๆ ของฉัน ลุกพรึ่บกลายเป็นกองไฟกองใหญ่ อย่างไม่ยอมมอดไปจนเช้า ฉันถือให้ปรากฏการณ์นี้เป็นประจักษ์พยานจากธรรมชาติได้หรือเปล่านะในการตัดสินใจครั้งนี้ ย้ายออกมาจากสังขละทั้งหมด ย้ายห้วยหิ่งห้อย ติ่งที่ยังยั้งไว้ออกมาให้หมด ขอ confirmation จากธรรมชาติเป็นประจักษ์พยานยืนยัน
ผลจากการคิด ...
จะไม่ให้หยุดคิดได้อย่างไร หากมันรบกวนจิตใจเราขนาดนี้ บ่ายวานในป่า ฉันพยายามมากที่จะไม่คิด หากแต่ว่ามันรบกวนให้ฉันทำอะไรไม่ได้ แต่เช้านี้ฉันให้เวลาพิจารณาตามสภาพที่มันควรจะเป็น สภาพความเป็นจริง ไม่ใช่สิ่งที่ฉันอยากให้เป็น ไม่ใช่คิดเข้าข้างฉัน หรือใคร
ใจนิ่งได้ เมื่อตัดสินใจกับปัญหาตรงหน้า งานได้ ได้งาน ชัดเจน ก็แต่ตัดสินใจตามที่หลักปัจจัย พิจารณาเงื่อนไขที่เป็นอยู่
จริงๆนะจะให้นิ่งหลับตาอยู่ได้อย่างไร ใจจะสงบได้อย่างไร ในใจร้อนรุ่ม การงานภาระยังไม่สะสาง จัดวางในใจให้เป็นที่เป็นทาง หากหลับตาก็เพียงการแช่ปัญหาให้อยู่เช่นนั้น ฉันมาอยู่ในธรรมชาติสวยงามขนาดนี้ จะมานั่งให้ใจร้อนรุ่มทำไม จะหลับตาฝากปัญหาไว้ที่สังขละ ไว้ที่กรุงเทพอยู่ได้อย่างไร นั่นจะทำให้ฉันไม่ได้อยู่ในที่ที่ฉันควรจะอยู่ เมื่อคิดได้อย่างนี้ ฉันก็ให้เวลา ให้ปัญญา ใคร่ครวญ พินิจกับปัญหาของฉัน และฉันก็หาที่หาทางให้มันอยู่ และพิจารณาตัดสินใจ วางใจในการตัดสินใจนั้น แล้วกองไฟก็ลุกพรือขึ้นมาอีกครั้ง เพราะสายลมแวะมาเป็นประจักษณ์ และสะกิดให้ใบไม้ระบัดใบ
- - - -
“แล้วฟ้าก็แจ้งจางปาง”
ฉันนึกถึงพิธีกรรมก่อนการออกมาอยู่วิเวกที่พะติและพี่น้องปกากะญอทำให้ เราทุกคนต้องเก็บก้อนหินมาล้อมให้เป็นวงกลมเพื่อแต่ละคนได้เข้าไปอยู่ในวงกลมก่อนและเมื่อกลับจากวิเวก ฉันจำได้ว่าเคยเข้าร่วมพิธีกรรมแบบนี้จากคนพื้นเมืองอเมริกันในงานวันเพื่อสันติภาพ ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ อเมริกา พลันระลึกได้ว่ามีพลังมาก พิธีกรรมนั้นทำให้ฉันตัดสินใจกลับเมืองไทย กลับบ้าน
เราจะเข้าไปนั่งในวงกลมทีละคน พะติจะสวดมนต์ท่องคาถา เวียนธูปรอบๆ เรา และให้เรานำสิ่งที่เสมือนเป็นตัวแทนของเราวางไว้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ที่จะส่งผ่านความคิด จิตวิญญาณของเราถึงกันเมื่อเราเข้าไปอยู่ในป่า และเมื่อเราออกมาเราก็มาเอาของสิ่งนั้นของเรากลับมา เพื่อให้รู้ว่าเรากลับมาแล้ว
ฉันรู้สึกได้ถึงการตรึงจิตวิญญาณซึ่งกันและกัน ฉันท้าทายตัวเองเนื่องจากเสียงข้างในตัวเองเยอะ ฉันขอเข้าวิเวกตั้งแต่ก่อนมื้อเย็นเมื่อได้สถานที่ งดมื้อเย็น เป็นอดอาหารสี่มื้อ ฉันได้ยินเสียงข้างในที่มันอื้ออึงและสับสนมามากพอ ต้องการความเงียบ พลังของธรรมชาติที่ทำให้ฉันจับต้องและฟังเสียงข้างในของฉันให้ชัดเจนว่าต้องการสื่อสารอะไร ต้องการให้ชีวิตเป็นอย่างไร ควรเป็นอยู่อย่างไร เสียงข้างนอกโหวกเหวกเหลือเกิน
พะติมองหน้าฉันเพื่อขอความมั่นใจซ้ำว่าแน่ใจหรือ ฉันมองลึกเข้าไปในตาพะติ เราสบตากัน ฉันคิดว่าพะติเห็นเจตจำนงค์และศรัทธาอะไรบางอย่างในตัวฉัน พะติจึงทำพิธีให้เป็นคนแรก พะติถามว่าที่ที่ไปเลือกเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน
- - - -

“เลือกพื้นที่ได้เหมาะ จะมองเห็นเดือนเห็นดาว เห็นฟ้าเห็นน้ำ”
พะติบอกฉันว่างั้น ที่ที่ฉันเลือก น้องหมอ สถาปัตย์บอกว่าพี่เนาว์เลือกที่ได้เท่มาก!
ฉันเลือกที่เกาะกลางน้ำ บนผืนทราย เพราะเหตุผลเรียกร้องหลายอย่าง ประการแรกเพราะความกลัว ทีแรกฉันคิดว่าจะเลือกที่ในป่า ต้นไม้หนาทึบ เพราะหลายคนจะเลือกอย่างนั้น แต่เมื่อฉันเดินไปในป่าจริงๆ มองไปทางไหนก็เห็นแต่ตอต้นไม้ใหญ่ๆ ตะปุ่มตะป่ำ หากมืดมาอาจเป็นเงาหลอนๆ แรกฉันคิดว่าต้องก้าวผ่านความกลัวนี้ไป และเมื่อฉันไปยืนอยู่บริเวณป่าทึบจริงๆ ฉันรู้สึกบีบรัดตัวเองมาก เกินความจำเป็น และรู้สึกอึดอัด รู้สึกมวนท้อง ฉันมองเห็นภาพตัวเองจะนั่งหลับตาอยู่บริเวณนี้ทั้งวัน และไม่เห็นท้องฟ้า ไม่เห็นดาวดาว ไม่ได้ยินเสียงน้ำไหล และบรรดายุงและแมลงคงยกขบวนมาชุมนุมรอบๆ เต้นท์ของฉัน
ฉันจึงตัดสินใจเดินต่อไป เดินออกมาจากป่าลึก เข้ามาใกล้แม่น้ำมากขึ้น ต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งริมตลิ่งล้มพาดผ่านเป็นสะพานให้เดินข้ามไปสู่เกาะกลางแม่น้ำ ฉันรู้สึกเหมือนว่านี่ล่ะ คือทางที่จะนำฉันไปสู่ที่ปลีกวิเวกของฉัน แล้วฉันก็พบที่ของฉันกลางเกาะทราย รอบล้อมไปด้วยลำน้ำ ( อาจารย์รักษณ์บอกว่าถ้าเป็นหน้าฝนจะไม่ยอมให้ฉันกางเต้นท์ตรงนี้เด็ดขาด ถ้าเป็นหน้าฝนฉันก็จะไม่กลางเต้นท์ตรงนี้เด็ดขาดเช่นกัน )
เช้าวันนี้เองที่ฉันรู้สึกว่าฉันเลือกพื้นที่ได้เหมาะจริงอย่างที่พะติว่า มีอาณาบริเวณ เกาะที่กว้างขวาง ให้ฉันประกอบกิจกรรมมากมาย ฉันนอนเกลือกกลิ้งทำโยคะกับผืนทราย นอนหนุนหมอนขอนไม้บนผื้นทราย มองการเดินทางของลำแสงในแต่ละช่วงของวัน มีที่ให้ตากถุงนอนให้อุ่น ตากเสื้อผ้าให้ไม่มีกลิ่นเหม็น มีที่ให้ก่อกองไฟ ขุดหลุมทรายเป็นส้วม นอนบนผืนทรายคงนิ่ม และที่สำคัญฉันมองเห็นทุกอย่างได้รอบทิศ ได้เห็นธรรมชาติทุกอย่างของที่นี่ มีลำน้ำโอบล้อม มีผืนป่าโอบกอดรอบทิศ เห็นท้องฟ้าเปลี่ยนสีเมื่อรุ่งอรุณ รับแดดจ้าระหว่างวัน แต่มีร่มไม้ให้พักพิง และได้เห็นพระอาทิตย์สิ้นแสงของวัน ฉันได้เห็นระยะความสั้นยาวของเงาตัวเองบนผืนทรายในทั้งกลางวัน และกลางคืน แปลกมากตั้งแต่โตมาก็ไม่เคยรู้จักเงาของตัวเองดีขนาดนี้มาก่อน
( เมื่อฉันออกจากป่า แล้วกลับมาบ้านที่กรุงเทพ เพื่งจะตระหนักว่าสถานที่แรกที่ฉันจะเลือกกางเต้นท์ มีลักษณะความรู้สึกคล้ายๆ สัญลักษณ์ของที่ที่สังขละบุรี ส่วนที่ที่ฉันเลือกกางเต้นท์จริงๆ เกาะกลางน้ำ เห็นน้ำ เห็นฟ้า ตะวัน และภูผาโอบรอบ มีลักษณะทางกายภาพ และความรู้สึกคล้ายกับที่ที่พิษณุโลกที่ฉันไปซื้อไว้ )

“เสียงหัวใจฉันเต้นเป็นปรกติสุขดี”
ฉันพยายามนั่งสมาธิหลับตา คิดว่านั่นเป็นสิ่งที่น่าจะทำ แต่ว่าเมื่อมองไปรอบๆ กลับเห็นว่าธรรมชาติน่ามอง น่าจับจ้องมากกว่าลมหายใจตัวเอง ณ เวลานี้ ฉันได้ยินเสียงหัวใจเต้นเป็นปรกติสุขดี อีกครั้งที่ฉันจำไม่ได้ว่าเคยได้หยุดยินเสียงหัวใจของตัวเองเต้นอย่างนี้ เขาอยู่สบายดีอยู่ข้างในเนื้อตัวของฉัน เราทักทายกันเหมือนเพิ่งรู้จักกันมาไม่นาน
ผีเสื้อเริ่มบินมาปรากฎกาย เหมือนย้ำอีกครั้งว่านี่ล่ะคือบ้านของฉันในวันนี้ ทำให้ฉันจำได้ว่าเมื่อคืนที่ฉันลุกขึ้นมาฉี่ก็มีหิ่งห้อยมาทักทายรอบๆ บริเวณเช่นกัน แสดงว่าลำน้ำนี้ก็ยังอุดมสมบูรณ์พออยู่ แม้ว่าจะดื่มกินไม่ได้แล้ว เพราะมีสารเคมีจากสวนส้ม สวนผลไม้จากด้านบน

“ท้องร้องโครกคราก น่าจะสักเที่ยงวัน ดูจากเงาที่สั้นมากและพระอาทิตย์อยู่ค้ำหัว”
“กลัวหิวมากกว่าหิวจริงๆ” ฉันรู้สึกกลัวชัดเจนมากว่าจะหิวมากๆ ถ้าหิวขึ้นมามากๆ จริงๆ จะทำอย่างไรดี แล้วจิตอันปรุงแต่งแสนวิเศษของฉันก็พากายเดินไปรอบๆ เกาะดูว่าในน้ำมีปลา มีหอยพอให้จับมากินหรือเปล่า ฉันคิดวิธีจับปลาด้วยเสื้อยืดและถุงกางเต้นท์เอาไว้แล้ว ปรากฎว่าเดินรอบๆ เกาะไม่เห็นปลาสักตัว จำได้ว่าตอนที่อาบน้ำเมื่อเย็นวานก็ไม่เห็นปลามาตอดสักตัว ฉันยังไม่ยอมแพ้ จิตพากายเดินไปกลางลำน้ำ เดินไปกลางลำน้ำอยากเดินไปว่าลำน้ำนี้จะสิ้นสุดตรงไหน จะพาเราไปไหนกัน และลึกสุดตรงไหนที่ไปไม่ได้แล้ว ลำน้ำตื้นเขินกว่าที่ฉันประมาณ พาให้ฉันเดินกลางลำน้ำไปได้เรื่อยๆ โค้งน้ำแล้วเล่า จนในที่สุดเจอโค้งน้ำที่มีฝูงควายลอยคอ เอาตูดแช่น้ำกันอย่างสบายใจ ทุกตัวจ้องมองฉันเป็นตาเดียว ฉันอยู่กลางน้ำ ฉันถอยหลังกลับแบบไม่คิดมาก คิดว่าลำน้ำคงพาฉันไปได้แค่นี้ ฉันพยายามเดินทวนน้ำกลับกลางลำน้ำทางเก่าสักยี่สิบก้าว และคิดว่าจะเสียพลังงานมาทวนน้ำโดดเดี่ยวไปไย ความรู้สึกหิวจริงๆ ปรากฎกายเช่นกัน ฉันจึงหันกลับเข้าหาฝั่งหาทางเดินริมตลิ่งเพื่อกลับไปยังที่มั่นของฉัน ฉันลงในแม่น้ำ เล่นน้ำกับต้นสะเทอ ต้นสะเทอเป็นต้นไม้ริมน้ำที่ขึ้นมากมายบนลำน้ำที่อยู่ภูสูง จนเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งในทุ่งใหญ่นเรศวรชื่อว่า หมู่บ้านม่องสะเทอ เพราะมีต้นสะเทอเยอะ ดำน้ำลงไปดูใต้รากต้นสะเทอ ไม่เจอปลาเจอหอยจริงๆด้วย ขึ้นฝั่งอย่างปลงๆ ยอมรับสภาพและอยู่กับความหิวพอประมาณ บ่ายคล้อยๆ ฉันลองเข้าไปใกล้ธรรมชาติ ก้มมองดูมาร์โคร์ของดอกหญ้า ดอกอะไรนะที่ฉันเรียกชื่อไม่ได้แต่ว่ามีสรรพคุณห้ามเลือดเป็นเลิศ ฉันเพ่งพินิจลักษณะของดอกหญ้าทั้งที่ ตูม แย้ม บาน โรย ธรรมชาติช่างมหัศจรรย์และสวยงาม ฉันไม่รู้ว่าจะพรรณาอย่างไร ไม่รู้ว่าจะสเกตซ์ทุกลักษณะของดอกหญ้านี้ได้อย่างไรหมด ทุกดอกมีเอกลักษณ์ของตัวเอง แล้วฉันก็นึกถึงวลีมีความหมายที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หากมนุษย์ให้เวลาตัวเองมองเห็นความงามของดอกหญ้านี้ได้ และอยู่กับความงามนั้น เราคงไม่ทำร้ายให้ดวงดาว โลก และจักรวาลนี้สะเทือนสะบักสะบอมกันไปทั่ว
ฉันนึกถึงบทสนทนาที่คุยกับอาจารย์เปี๊ยก ระหว่างทางสถานีรถไฟมาสะเมิง อาจารย์บอกว่าหากน้ำท่วมโลก โลกแตกขึ้นมาจริง จะมีคนอยู่ ๓ ประเภท
กรณีคนกลุ่มที่ ๑ หาแต่ทางหนี ฉันว่าชัดในเรื่อง ๒๐๑๒ ของอเมริกันชน สร้างเรือโนอาหนีกันแต่พรรคพวก ทั้งๆ ที่มีความรู้ท่วมหัว มีนักวิจัยที่เก่ง รู้ชะตา กำข้อมูล แต่สุดท้ายใช้ข้อมูลนั้นกันเพียงแต่พรรคพวก คนมีเงิน และมีเงินหลายระดับ พ่วงด้วยอำนาจ ไม่บอกข้อมูลกับประชาชน
กรณีที่ ๒ สติแตก แม้แต่หนีก็ไม่รู้จะหนีอย่างไร ฉันว่าน่าจะเป็นคนที่กลัว ช็อคตายก่อนที่น้ำจะท่วมถึงตัวเองจริงๆ อย่างประสบการณ์ฉันในป่า ที่กลัวว่าจะหิว ทั้งๆ ที่ยังไม่ทันหิว จนเดินออกไปหาปลา หาหอย มาเตรียมไว้ นั่นเองต่างหากที่ทำให้ฉันเหนื่อยและหิวขึ้นมาจริงๆ ทั้งๆ ที่ฉันนั่งนิ่งๆ อยู่ ไม่ทำให้ตัวเองเสียพลังงานมาก ฉันอาจจะไม่หิวขนาดนั้น
กรณีที่๓ มีสติ หาทางแก้ไขที่สาเหตุตั้งแต่ปัจจุบัน ฉันรู้จริงตามสภาพ ยังหาปลาไม่ได้ เพราะไม่มีปลา จะสอนให้คนตกปลา เมื่อไม่มีปลาให้ตกได้อย่างไร อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับลมหายใจ แล้วฉันก็ได้สติและปัญญาว่ากลัวหิวน่ากลัวว่าหิวซะอีก จิตเราที่ปรุงแต่งไปยกใหญ่ และเข้าใจว่าทำไมคนกลัวหิวนัก และทำไมเรื่องปากท้องเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เงินทองของมายา ข้าวปลาของจริง ก็เมื่อเวลาเราเข้าป่าอยู่กับธรรมชาติของป่าและของตัวเราเอง
เราคุยกันอย่างออกรสและเจ็บปวดว่า มนุษย์เราทำร้ายโลกกันเหลือเกิน ฉันเพิ่งอ่านข่าวว่าเราไปเอาพลังงานจากดวงจันทร์มาใช้ในโลก และก็มีหนังเรื่อง Moon ออมาย้ำข่าวนั้นว่าเป็นจริงได้ หรือเป็นจริงแล้วเราไม่รู้ไม่แน่ใจ แต่น่ากลัวเป็นที่สุด เราทำร้ายกันถึงพระจันทร์แล้วหรือ แล้วข่าวอีกข่าวที่ฉันสะกิดใจคือ มีการพยายามส่งข้อความใส่ขวดขว้างไปในอวกาศเพื่อสื่อสารกับอะไรบางอย่างในนั้น สื่อสารอะไรหรือ ฉันสงสัยว่าจะเป็นข้อความขอโทษขอโพย หรือว่าสำนึกผิดหรือไรกัน ความคิดพามาถึงตรงนี้ทำให้ฉันตั้งปณิธานว่า หากชีวิตฉันมีเพียงอีกสามปี ๒๕๕๕ ฉันจะเป็น อยู่ ทำ ทำอะไร ฉันจะนำพาชีวิตฉันไปที่ไหน
- - - - -
“อยู่กับสิ่งที่มี และใช่สิ่งที่ฝันและทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด”
เป้าหมายการทำการศึกษาเรียนรู้ของฉันจะอยู่ที่การทำการศึกษาให้มีคนประเภทที่สามบนโลกกลมๆ ใบนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ด้วยความหวังว่าจะแบ่งปันให้มีโลกคงอยู่สำหรับเด็กๆ ได้เติบโต
กินวันละสองมื้อน่าจะพอดีตัวมากกว่า อยู่ดีๆ ฉันก็นึกเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าคงไม่กำหนดให้พระฉันเพียงวันละสองมื้อ ฉันตั้งใจว่าจะกินวันละสองมื้อให้พอดีตัว จนถึงปี ๒๕๕๕
- - - - -
๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๒
“เดินช้าช้า ออกจากป่า”
เมื่อรุ่งอรุณมาเยือน ฉันเก็บเต้นท์ รอแสงแดดฉายไล่ความชื้นของเต้นท์ ก่อนจะพับเก็บใส่ถุง
ฉันรู้สึกว่าเช้านี้พระอาทิตย์ตื่นสาย หรือว่าอ้อยอิ่งจากที่นอน หรือว่าฉันหิว
ขณะรอให้ผ้าเต้นท์แห้ง ฉันกลับไปดับกองไฟที่ก่อไว้ตั้งแต่เช้ามืดอีกครั้ง ฉันนึกไปถึงการทำ life coaching กับรุ่นพี่คนหนึ่ง เมื่อสักสามปีก่อน พี่จ๊ะ อาศรมวงศ์สนิท พี่จ๊ะ ให้เราจินตนาการถึงชีวิตอีกสิบปีข้างหน้า เมื่อฉันสัก ๔๐ ปี ภาพที่ฉันเห็นตัวเอง อยู่ในที่สงบ ลมพัดเย็น ฉันนั่งอยู่หน้าบ้านที่มีเฉลียงยื่นออกมา ฉันนั่งเขียนหนังสืออยู่ รอบๆ บริเวณได้ยินเสียงเด็กๆ วิ่งเล่น กลิ่นดอกพุดซ้อนหอมกระจายทั่วบริเวณ- - - เป็นภาพนิมิตที่มีพลัง และสงบสุขดีจัง
เข้าวงกลมก้อนหิน ใจรู้สึกว่า ใกล้ถึงบ้านแล้ว

“กินช้าช้า”
ละเลียดทีละคำ มองย้อนกลับไปในประสบการณ์ ในป่าวิเวก เห็นว่าตัวเองได้ ใคร่ครวญ ย้อนทวน เชื่อมโยง รื้อถอน ปะติดปะต่อ ภาพ เรื่องราว ความคิด ประสบการณ์ที่เราบ่มเพาะมาในช่วงชีวิตสิบปีที่ผ่านมา และ ค้นหากับหนทางดำเนินชีวิตในวันแต่ละวันและ วันข้างหน้าอันไม่ใกล้ไม่ไกล

วงคุยถอดประสบการณ์
ความรู้สึกที่ฉันแลกเปลี่ยน : “ รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ อยู่กับประสบการณ์ ห้วงขณะ ความรู้สึก เท่าทันความคิดได้ไม่น้อย ได้ใคร่ครวญ ได้ย้อนทวน เห็นแจ้งในตัวเอง ประจักษ์ว่ากระบวนทรรศน์ตัวเองเปลี่ยน ได้ปณิธานชีวิต ให้ความหมายคุณค่ากับชีวิตใหม่อย่างไร เจอก้อนหินก้อนใหญ่ในใจตัวเอง เจอรุ่งอรุณของตัวเอง และลักษณะที่ทางที่ตัวเองอยู่แล้วตัวเองได้รู้สึกว่าเหมือนอยู่บ้าน และได้เป็น ได้เห็น ได้อยู่กับธรรมชาติของตัวเอง”
ฉันได้ผ่านประสบการณ์และคำตอบกับคำถามและปณิธานชีวิตที่ตั้งไว้: “ การเดินทางครานี้เป็นการเดินทางของการบ่มเพาะเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ ความนิ่ง ความลึก สงบ แน่วแน่ ละเอียดอ่อน อ่อนโยนและนอบโน้มต่อธรรมชาติ ผู้อื่น สรรพสิ่ง และที่สำคัญต่อตัวเอง”

เดินออกจากป่า: ฉันรู้สึกว่าอื้ออึงและเซ็งแซ่ ยังไม่พร้อมกับการฟังเสียงข้างนอก อยากจะเก็บประสบการณ์และปณิธานที่ได้มาให้อยู่กับตัวได้อย่างแน่วแน่ จึงเดินแตกแถวนำหน้าออกมาจากกลุ่ม กลับมาที่หมู่บ้านก่อน

คุยวงกลางคืน
กลับมาสู่โลกของความจริง ทีมโรงเรียนมารายงานการทำโรงเรียนอย่างยืดยาว เราอิจฉารึเปล่านะ อิจฉาพี่นิดที่ทำโรงเรียนในฝัน เป็นฝันที่ฉันทำมาหลายปีก่อน อาจารย์อ๋อย อาจารย์แบน มานั่งวงแลกเปลี่ยนด้วย เรารู้สึกว่าวงคุยคืนนั้นเรื่อยเฉื่อย และล้อเล่น ไม่เป็นสุนทรียะสุนทนา ไม่ใช่วาระที่ฉันอยากให้เป็น ให้เราได้แลกเปลี่ยนกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มเพิ่งออกมาจากประสบการณ์ที่มีค่า หรือว่าฉันคาดหวังสูง ฉันเป็นคนคาดหวังสูงจัง แต่ในที่สุด เมื่ออาจารย์อ๋อยบอกว่าถ้าไม่แลกเปลี่ยนกันก็จะไปนอนแล้วนะ จึงจะมีการแลกเปลี่ยนอย่างลึกซึ้งขึ้น และเริ่มถึงการกล่าวขอบคุณพระติ และชาวบ้านที่ทำให้เรามีประสบการณ์นี้ ฉันกล่าวขอบคุณพะติจะแยะ ที่ให้ศรัทธาในตัวฉัน เมื่อเราสบตากันก่อนเข้าป่า อนุญาตให้ฉันเข้าในเวลาที่ฉันพร้อม
แล้วความรู้สึกก็แลกเปลี่ยนออกมาในวง ฉันบอกวงไปว่า วันที่มาวันแรกฉันร้องไห้ตั้งแต่นั่งสองแถวเข้าบริเวณหมู่บ้าน มันเหมือนกับหมู่บ้านที่สังขละมาก วันที่มาแลกเปลี่ยนในวงครั้งแรก กับชาวบ้าน ฉันก็น้ำตาไหล บอกวงเลยว่าฉันสับสนมาก สับสนว่ากำลังหนีออกจากบ้านหรือ หรือว่าอะไร อยากจะเข้าป่าไปเลย
- - - -
“Just Confirm!”
“คนอินเดียนแดงจะส่งคนสับสนเข้าไปในธรรมชาติ”
ประสบการณ์แห่งการแปรเปลี่ยนและความเข้าใจ
– กรณีศึกษา: การค้นหาที่นโรปะ คำบอกเล่าจากประสบการณ์ตรง โดย ณัฐฬส วังวิญญู – งานวิจัยการศึกษาทางเลือก อ. ส ศิวลักษณ์
มีอยู่วิชาหนึ่ง “ประสบการณ์จากธรรมชาติ” (Wilderness experience) เป็นวิชาที่ไม่ต้องใช้หนังสือเลย พาไปทะเลทรายไปอดอาหาร ๓ วัน อันนี้ไม่ต้องใช้หนังสือ เพราะหนังสือเล่มใหญ่คือธรรมชาติ เขาใช้วิธีแบบอินเดียนแดง คืออินเดียนแดงบอกว่า คนเราที่จะเรียนรู้ จะมีคำถามใหญ่ๆ ของชีวิต เช่นอาจจะถามว่า ชีวิตคนเราเกิดมาเพื่ออะไร บางคนสับสนว่าหน้าที่ของเราคืออะไร บางคนอาจเป็นผู้นำ บางคนอาจเป็นผู้ตาม บางคนว่าเอ..ชีวิตคู่เราไม่ราบรื่น เราจะทำอย่างไร จะมีคำถามใหญ่ๆ มากับวิกฤตการณ์ของชีวิต อินเดียนแดงจะส่งคนสับสนเข้าไปในธรรมชาติ ไปอยู่ไปภาวนา ไม่พูดกับใคร พูดกับธรรมชาติได้ แล้รองรับคำถามนี้ไว้ แล้วปล่อยให้คำตอบผุดขึ้นมาเอง อินเดียนแดงเรียก Vision Quest Quest คือการตั้งคำถามกับชีวิต Vision คือ ภาพนิมิต คล้ายๆ เหมือนการบวชของดินเดียนแดง ส่งหนุ่มน้อยเข้าไปบวชกับธรรมชาติแล้วกลับมาเล่าให้ฟัง ผู้อาวุโสจะฟัง แล้วช่วยตีความเชิงสัญลักษณ์ จะรู้เลยว่าเด็กคนนั้นมีหน้าที่อะไร และจะได้ชื่อใหม่ด้วย
- - - -
“Transform เปลี่ยนรูป จากผีเสื้อ สู่ดักแด้อีกครั้ง”
มาที่สบลานนี่ ฉันร้องไห้คืนแล้วคืนเล่า แล้วใคร่ครวญว่าทำไมประสบการณ์ที่สังขละของฉันจึงไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ฉันร้องไห้อย่างไม่โทษตัวเองในวงคืนนั้น หลังจากประสบการณ์ที่ออกจากป่า เมตตากับตัวเอง มีปัจจัยสาเหตุหลากหลายมากมายที่นอกเหนือจากตัวฉัน สิ่งหนึ่งคือ เรื่องของมิติทางจิตวิญญาณที่มันหายไปแล้วในหมู่บ้านเวียคะดี้ ที่สังขละ ไม่เหมือนกับที่สบลานที่ยังมีผู้นำทางจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง สิ่งนี้ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะยังกระแสการเติบโตของโลกาภิวัตน์ที่เข้ามาทำลายหมู่บ้านได้ วันนี้เราต้านกระแสนั้นไม่ไหว เมื่อพิจารณารู้ได้อย่างนี้อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ฉันรู้สึกเอาใจช่วย และอยากเป็นกำลังใจให้กับพี่นิด หมู่บ้านสบลาน ให้เดินไปถึงเป้าหมายอย่างเข้มแข็ง
- - - -
๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๒
“โจ๊ะมาโลลือลา” โรงเรียนวิถีชีวิตปะกากะญอ
ตามโปรแกรม เราจะมาทำโรงเรียนที่หมู่บ้านสบลานนี้ด้วย ฉันรู้จักเด็กๆ ในหมู่บ้านนี้หลายคนแล้ว เมื่อวันแรกที่เข้าหมู่บ้านฉันไปเล่นกับเด็กๆ ก่อนจะรู้จักผู้ใหญ่ในหมู่บ้านด้วยซ้ำ เด็กๆ ที่นี่น่ารัก เหมือนเด็กๆ ทั่วไป แต่มีความใส และสัญชาติญาณการเอาตัวรอด การอยู่กับปัจจุบันและความจริงมากกว่าเด็กเมืองทั่วๆ ไป เล่นกับเด็กที่นี่ทำให้คิดถึงเด็กๆ ที่สังขละ ( เอาอีกแล้ว )
ฉันเข้ากลุ่มสร้างหลักสูตรกับอาจารย์อ๋อยที่บ้านพะติจะแย เช้าเดียวเราได้โครงหลักสูตร ได้ชื่อโรงเรียน ฉันตั้งใจเรียนรู้ ดูการทำงานของอาจารย์อ๋อยในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับชาวบ้าน กับครูอย่างไร อาจารย์นำไปเลย นำแบบสร้างการมีส่วนร่วมที่ไม่เท่ากัน แต่ทันกันและทันกิน ฉันสรุปกับตัวเองว่า กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมไม่จำเป็นต้องให้ร่วมเท่าๆ กัน เพราะประสบการณ์แต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ต้องมีทั้งนำ ทั้งตาม แต่ร่วมๆ ไปด้วยกัน ฉันมองหน้าพี่นิด ครูใหญ่ของโรงเรียน ครูนิดก็ยังพยักหน้าหงึกๆ ตามอาจารย์อ๋อย เราคิดว่า ใช่ล่ะ วันนี้มีอาจารย์อ๋อย นั่งเป็นประธานที่นี่ แต่หลังจากวันนี้ พี่นิดที่จะเป็นประธานแทน และเป็นคนที่อยู่ที่นี่ พี่นิดจ๋า เอาใจช่วยค่ะ
บ่ายขึ้นไปดูโรงเรียน โยงกับประสบการณ์การทำโรงเรียนของเรา ฉันต้องออกมานั่งอยู่มุมนอกๆ ดูรอบๆ โรงเรียน พี่เอง พี่จือ เดินเข้ามานั่งเป็นเพื่อน ฉันน้ำตาซึมอีกแล้ว คิดถึงห้วยหิ่งห้อย คิดถึงเมล็ดดาวกล่อมฝัน-เมล็ดดาวเดินทางของฉัน แต่ไม่ให้พี่ทั้งสองเห็น พี่เองเหมือนรู้ใจ ถามว่า คิดถึงโรงเรียนที่สังขละหรือเปล่า ฉันร้องโฮในใจ พี่จ๋าทำไมจะไม่คิดถึงล่ะ แต่สิ่งที่ฉันพูดกับพี่ไปว่า ประสบการณ์ที่นี่ ยืนยันและเป็นประจักษณ์พยานกับฉันว่า ฉันควรจะภูมิใจในตัวเองมากแค่ไหนและเห็นคุณค่าของตัวเอง รักตัวเองให้มากกว่าที่เคยเป็นมากแค่ไหน ฉันทำได้ ฉันชัด และมีเป้าหมายในชีวิตที่ดีงาม และสำคัญที่ฉันลงมือถากถาง ลงมือทำกับมัน อย่างเอาจริงเอาจัง อย่างหัวปักหัวปำ และด้วยความรัก เท่านั้นฉันจะเอาอะไรอีก นั่นคือคุณค่าและประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มากมาย
มีพิธีผูกข้อมือ หลังจากให้พะติ ชาวบ้านผูกข้อมือให้ ฉันเห็นอาจารย์อ๋อยนั่งอยู่เฉย ตั้งใจเข้าไปหาให้อาจารย์ผูกข้อมือให้และให้พร อาจารย์อวยพรว่า ขอให้เจอสิ่งที่ฝัน เราผงะนิดหนึ่ง นี่เรายังไม่เจอสิ่งทีฝันเนอะ ป่านนี้แล้ว หรือไร ทำไมยังสับสน สงสัย
แล้วพี่นิดก็เข้ามาให้อาจารย์อ๋อยผูกข้อมือด้วย ฉันเห็นสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น น่าเอ็นดู หวังดี เอื้ออาทรกันของอาจารย์อ๋อยกับครูนิด
วงนิทานของพะติแดงกับเด็กสถาปัตย์ สนุกสนานเฮฮามาก มากกว่าความสนุกสนาน พะติคือสายสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม วัย ภูมิปัญญา ฟังๆ พะติแดงเล่านิทานแล้วอยากกระโดดกอด ขย้ำแบบหมันเขี้ยว เหมือนเป็นปู่คนหนึ่ง
- - - -

๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
“กลับสู่โลกของความเป็นจริง”
ฉันวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าออกจากวิเวกที่สบลานจะยังไม่ตรงกลับบ้าน ต้องไปหาครูอาจารย์และกัลยาณมิตรในเชียงใหม่ก่อน เพราะคิดว่าจะต้องให้เวลาย่อยประสบการณ์จากการวิเวกและมีช่วงเปลี่ยนผ่านสักนิดก่อนที่จะกลับไปสู่โลกของความจริง การงานโดยทันที
“บ้านพี่อวยพร เขื่อนแก้ว ศูนย์สันติภาพและความยุติธรรมเพื่อผู้หญิง”
พี่อวยพรไปประชุมที่กรุงเทพจะกลับมาค่ำๆ แต่บ้านพี่อวยพรไม่เคยปิด ฉันเข้าไปอาบน้ำอุ่นและโทรเรียกหมอนวดประจำตัว ป้าบุญให้มานวด เพราะรู้สึกว่าร่างกายตึง เปรี๊ย ไปทุกส่วน ลมในร่างกายตีกันแย่งกันขึ้น ในช่วงที่โหมทำการ์ตูนดินปั้นแอนนิเมชั่น เบาไปบ้างเมื่อไปเข้าวิเวก แต่ก็ยังรู้สึกได้ว่ายังมีสารพิษ ความล้าของกล้ามเนื้อสะสมอยู่ ป้าบุญมานวดให้สองชั่วโมง ถามว่าเราไปทำอะไรกับร่างกายมา ตอนนี้เราได้เป็นที่หนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีลมในร่างกายมากมายหลายกระสอบ นวดเสร็จหน้าใสและหลับไปจนค่ำพี่อวยพรกลับมาเรียกให้เข้านอนที่ห้องพัก
ตื่นเช้ามาไปเดินรอบทุ่งนากับพี่อวยพร เราแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาของแต่ละคน ไม่ได้เจอกันครึ่งปี พี่อวยพรมีแฟนใหม่แกว่ามีทุกข์ใหม่ ฉันก็มีอาการตกหลุมรักครั้งใหม่ที่มาไวและไปไว พี่อวยพรบอกว่าฉันมีสติพอ ไม่ใช่เพียง Fall but Crawling in love คือไม่ตกหลุม คลานขึ้นมาจากหลุมแล้ว
ฉันนึกถึงคำท่านพระมหาโอ๊ต ที่ฉันสนทนาด้วยคืนที่ออกมาจากป่า ฉันไม่เคยนั่งสนทนากับพระต่อหน้าต่อตา ตามลำพังมานาน เพราะไม่เจอพระที่รู้สึกว่าจะสนทนาด้วยได้ โดยไม่โดนแต่เทศนา พระมหาโอ๊ตมีเมตตาและมีใจที่จะเรียนรู้เป็นกำลังและบารมีจนฉันรู้สึกได้ว่าจะต้องเข้าไปสนทนาธรรมด้วย แรกเราคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิเวก ท่านบอกฉันว่าท่านกลับมาคิดต่อจากคำถามที่ฉันโยนทิ้งท้ายไปกลับกลุ่มตอนที่เรามีวงแลกเปลี่ยนกันในป่าหลังจากที่เราออกวิเวก
ฉันโยนหินถามทางกับกลุ่มว่า “การมาวิเวกครั้งนี้ หากเป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่เพียงแต่ภายในตัวเรา เพียงแต่ทรรศนะคติ แต่จะแสดงออกมาทางพฤติกรรม การกระทำของตัวเราเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร” ฉันคิดว่าเมื่อเราเดินออกมาจากวิเวกในป่า หากจะประเมินความสำเร็จของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เราควรออกมากลับการตั้งใจว่าพฤติกรรมอะไรที่เราจะเปลี่ยน และยืนยันกับมัน
ฉันตั้งปณิธานว่าจะกินอาหารเพียงสองมื้อต่อวัน ลดการบริโภค ลดความอยาก และทำให้ฉันกลับมาอยู่กับร่างกาย ความรู้สึกได้มากขึ้น และฉันคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ร่างกายตัวเองเรียกร้องมานานแล้วด้วย แต่ฉันยังมีความอยากอยู่เยอะกว่า
ท่านมหาโอ๊ตบอกฉันว่า ท่านนำสิ่งที่ฉันโยนถามไปในวงสนทนาวันออกจากวิเวก ท่านบอกว่ายังคิดอยู่ว่าจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองอย่างไรดีหนึ่งอย่างเมื่อออกไปจากป่านี้ และหากโลกนี้มีเพียงอีกสามปี ท่านจะทำอะไร ฉันดีใจที่พระและฆราวาสเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ ฉันคิดต่อว่าจะมีนักศึกษาร่วมรุ่น รุ่นน้องกลับมาคิดต่อและยืนยันทำอะไร เปลี่ยนแปลงตัวเองสักอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมบ้างหรือเปล่า อาจารย์โจ้ ธนา บอกฉันว่าคาดหวังสูงไปรึเปล่า ฉันบอกว่าให้โจ้ดูเลยนะ ว่าออกจากหมู่บ้าสบลานแล้วเราต้องแวะที่ตลาดสะเมิง แล้วใครกินเป็ปซี่ น้ำอัดลม สำหรับฉันนั่นแสดงว่าวิชานี้ตก หากฉันเป็นอาจารย์ประจำวิชานี้ จะให้รถสองแถววนกลับพาคนนั้นกลับมาเข้าวิเวกใหม่โดยทันที โจ้หัวเราะ ไม่รู้ได้ดูรึเปล่าว่าใครตก
วกกลับมาที่การสนทนากับท่านมหาโอ๊ต คุยไปคุยมากับท่านฉันได้คุยกับท่านเรื่องทำไมท่านมาบวช และเลยไปถึงเรื่องบุพเพสันนิวาส ท่านบอกว่าคำนี้มาจากคำว่า ปุพเพสันนิวาส เหตุเกิดจากรัก ซึ่งมีสองเหตุสองอย่าง ๑. การได้เกื้อกูลกันในปางก่อน ๒.การได้เกื้อกูลกันในปัจจุบัน คนที่จะอยู่ด้วยกันต้องมีศีลเสมอกัน คู่บุญ ส่งเสริมกัน คู่เวรคู่กรรมพากันจมดิ่ง รักมีสองด้านที่เป็นทั้งพลังและกังวล เพียงตัวเราลำพังขันธ์ ๕ ของเราก็หนักแล้ว มีคู่รักก็ไปเอามาอีก ๕ มีลูกก็ไปเอามาอีก ๕
ฉันถามพระว่าทำไมคนเราจึงหันมาธรรมะ
ท่านตอบว่า เพราะเห็นภัย เห็นความกลัว เห็นทุกข์
เสี่ยวบ้านปะกากญอฉันพักด้วย อนันต์ อายุเราเท่ากัน เขาจึงเรียกฉันให้ผูกเสี่ยวกัน มาเรียกให้ไปกินข้าวเย็นมือสุดท้ายร่วมกัน เขาได้ตัวนิ่มมาแกง เป็นอันจบบทสนทนาระหว่างฉันกับพระ ฉันรู้สึกดีใจที่ได้สนทนากับพระท่าน รู้สึกว่าศรัทธาและความหวังในพระสงฆ์กลับมามากกว่าครึ่ง
ฉันถามตัวเองว่าแล้วทำไมตัวเองจึงหันมาหาธรรมะ
ตอบตัวเองได้ว่า เพราฉันชนทุกข์เข้าอย่างจัง ไม่ใช่แค่เห็น แค่กลัว แต่เจอภัยที่ประสบกับทุกข์ของตัวเองเข้าอย่างจัง และที่นี่ ที่บ้านพี่อวยพรที่สอนให้เราอยู่กับความทุกข์ได้ อยู่กับตัวเองได้ รู้จักตัวเองได้ ยอมรับตัวเองได้ และยอมเห็นความเป็นจริง สิ่งที่มันเป็นอย่างที่มันเป็น
เมื่อพี่อวยพรกลับมาเรียกให้ฉันเข้านอนในที่พักเมื่อคืน ฉันเพิ่งตื่นจึงไม่คิดว่าจะกลับไปนอนต่อได้ ฉันจึงหยิบหนังสือมาอ่าน ตู้หนังสือพี่อวยพรเป็นเหมือนคลังมหาสมบัติ มีหนังสือดีดีประเภท Feminism, Woman Buddhism, Spiritual practice learning for transformation มากมายจากนักเขียนนานาชาติ แต่ฉันกลับไม่ได้หนังสือที่ฉันคิดว่ากำลังค้นหาอยู่จากตู้หนังสือพี่อวยพรครั้งนี้ แต่ตากลับเหลือบไปเจอหนังสือบนโต๊ะพี่อวยพร ชื่อว่า Spiritual Journey of a Dreamer “ผ่านพบจึงค้นพบ” เสกสรรค์ ประเสริฐกุล มีเสียงเรียกร้องจากหนังสือเล่มนี้ส่งตรงมาที่ฉัน นั่นจึงเป็นหนังสือเล่มที่เราพบกันคืนนั้น ฉันตั้งใจจะมาหาพี่อวยพรเพื่อปรึกษาเรื่องโครงการวิทยานิพนธ์ด้วย ด้วยประเด็นว่าเราจะชี้วัดว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร Transformation Level ชี้วัดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร หนังสือเล่มนี้ให้คำตอบกับฉันว่า
“ฉันมีพันธะที่จะต้องย้อนกลับไปมองสำรวจตัวเองในรอบทศวรรษแห่งการโชกโชน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เพื่อเรียนรู้ว่าข้อจำกัดเก่าๆ ของตัวเองนั้นอยู่ตรงไหน ศรัทธา ความเชื่อเรื่องใดที่มันยังเป็นเช่นนั้นและยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ในปัจจุบัน ความคิด จิตใจเกี่ยวกับโลก ตัวเอง สังคม ชีวิตคืออะไร เรารู้จักเข้าใจในตัวเองมากแค่ไหน และเส้นทางแห่งการบ่มเพาะ ค้นพบจิตวิญญาณของตัวเองดำเนินไปอย่างไร” การเข้าป่าปลีกวิเวก เพียงวิชาหนึ่งอาจเป็นเพียงจุดกระตุ้น จุดขยับ หรือจุดเปลี่ยน
การกลับมาสำรวจตัวตนที่ฉันผ่านประสบการณ์จริงในเรื่องต่างๆ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เป็นวัตถุดิบ เป็นต้นทุน เป็นเสียงอื้ออึง เป็นขุมทรัพย์ที่อยู่ในตัวในตน มีเรื่องราวที่น่าจะนำมาเรียบเรียง เรียนรู้ เพื่อการรู้จักเข้าใจในตัวเอง และโลก เท่านั้นมิใช่หรือ ที่เราเกิดมาเพื่อ
- - - -

บทความที่สิบ“Freedom in My Master Degree” “การบ้าน ป.โท”

บทความที่สิบ ๒๔ พ.ย. ๕๒
“Freedom in My Master Degree”
“การบ้าน ป.โท”

สัปดาห์นี้โดดเรียนค่ะ ไม่ไปทัศนศึกษาที่ลพบุรี โรงรียนสัตยสัยกับกลุ่มในห้องเรียน ป.โท เทอมการศึกษาแรกของป.โทนี้ฉันรู้สึกว่าไม่อยากไปดูงานที่ไหนนัก เพราะตั้งใจมาเรียนรู้ย่อยประสบการณ์เก่าๆ ที่มีมามากมายแต่เก่าก่อน แล้วใจมันก็ไม่พากายไป เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ ใจอยู่กับบ้าน อยู่กับการทำแอนนิเมชั่นการ์ตูนดินปั้น อาจารย์บอกว่าให้เราเช็คเวลาเรียนของเราให้ดีนะ ว่ามีเวลาเรียนได้ครบหรือเปล่า ขาดไปเท่าไหร่แล้ว ฉันขาดไปสองครั้งแล้ว เสาร์ที่ผ่านมาเป็นเสาร์ที่สาม จากการเรียนทั้งหมด ๑๖ สัปดาห์ ฉันคิดว่าฉันอาจจะขาดห้องเรียนครบกำหนด แต่คิดว่าการเรียนรู้ของฉันไม่เคยขาด เพราะการเรียนรู้ของฉันไม่ได้อยู่แต่ในชั้นเรียน ป.โท แต่มันตามกลับมาบ้านด้วย อยู่ในเนื้อในตัวของฉัน เพราะฉะนั้นฉันคิดว่าฉันเรียนเกินที่กำหนดไว้ในหลักสูตรด้วยซ้ำ
แต่อย่างไรก็ตามฉันก็คิดว่าไม่ควรทะนงตัวเกินไปนัก ถึงไม่ไปเรียนในชั้นก็ควรเขียนบทความบันทึกการเรียนรู้ของสัปดาห์ส่งด้วย ฉันเขียนบทความนี้หลังจากทำโยคะกับป้าๆ ในซอยบ้าน ฉันเพิ่งตั้งสำนักขึ้นมาใหม่กับป้าๆ super size ในซอยบ้าน ซึ่งรวมตัวกันลุกขึ้นมาวิ่งๆ เดินๆ ในซอยบ้านตอนตีห้า ฉันตื่นขึ้นมาทำงานตีสี่ทุกวัน ได้ยินเสียงป้าๆ ออกกำลังกายบริหารเอว ก็ได้แรงบันดาลใจ ลุกๆ ไปออกกำลังกายด้วย แต่ฉันไม่ชอบวิ่งๆเดินๆ เลยชวนๆ ป้าๆ มาทำโยคะ หอบเสื่อไปให้ป้าๆ ยึดหน้าบ้านน้าผึ้งเป็นลานฝึก ตอนตีห้าครึ่ง เหนื่อยมาก เหนื่อยกับการหัวเราะป้าๆ super size ที่มีความพยายามเป็นเลิศที่หนึ่งค่ะ พยายามบิดตัวบิดเอวตามท่าโยคะไปด้วยกัน ป้าๆได้เหงื่อตั้งแต่ฟ้ายังไม่สาง หลังจากทำโยคะ ก็เข้ากิจวัตรประจำวัน เข้าห้องน้ำ หนังสือทีฉันหยิบเข้าไปอ่านในห้องน้ำด้วยในวันนี้คือ สานแสงอรุณ ดุลยภาพในความงดงามของชีวิต ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๒ ซื้อมาจากสัปดาห์หนังสือ ยังไม่ได้เคยหยิบอ่านเลย โปรยปกว่า “ถ้าโลกนี้ไม่มีนิทาน” เปิดไปหน้าแรก
อรุโณวาท
กาลครั้งหนึ่ง...
พระผู้สร้างประชุมส่ำสัตว์ของโลกและเอ่ยถามอย่างร้อนใจว่า
“ข้ามีความลับอันสำคัญและล้ำค่า ข้าจะซ่อนไว้จากมนุษย์ที่ไหนดี เขาถึงจะได้พบก็ต่อเมื่อพร้อมแล้ว”
นกอินทรีอาสา “ ข้าจะนำมันบินไปยังดวงจันทร์และซ่อนไว้ที่นั่น”
“ไม่ได้” พระผู้สร้างว่า “วันหนึ่งเขาก็จะไปถึงดวงจันทร์และพบมัน”
“ถ้างั้นข้าจะซ่อนมันไว้ที่ก้นมหาสมุทร” ปลาแซลมอนเสนอ
“ไม่ได้” พระผู้สร้างว่า
“วันหนึ่งเขาก็จะลงไปถึงที่นั่นและพบมันเป็นแน่”
“ข้ารู้ ข้ารู้” ควายร้อง “ข้าจะซ่อนมันไว้ในทุ่งกว้าง!”
“แต่เขาก็จะขุดมันขึ้นมาสักวันแหละ” พระผู้สร้างว่า
จากนั้น ตุ่นก็เอ่ยขึ้น “ก็ซ่อนไว้ในตัวของเขาสิ”
พระผู้สร้างว่า “ได้การ...เพราะเขาจะมองหาที่นั่นเป็นที่สุดท้าย”
“ความลับ” นิทานของชนพื้นเมืองอเมริกา
ภูมิช อินสรานนท์: แปล
สัปดาห์นี้โฮมออฟฟิตของฉันคึกคัก มีน้องๆเพื่อนๆ เข้ามาช่วยงานแอนนิเมชั่นกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง เข็ม อุเทน ไผ่ ต้น โอ๊ต รวมทั้งสมาชิกในครอบครัว และเพื่อนบ้านในซอย เรากินแกงเขียวหวานกับพะโล้กันสองวันซ้ำๆ เพราะน้องชายของฉันเพิ่งเริ่มกิจการขายข้าวแกง ป็นแกงที่เหลืออยู่ค่อนหม้อแขก
วันก่อนมีเพื่อนน่าจะเป็นอุเทนเล่าให้ฟังว่า ตอนนี้มนุษย์ส่งข้อความในขวดแคปซูล ส่งไปในอวกาศ เพราะเผื่อจะสื่อสารกับมนุษย์ต่างดาว ดูเหมือนจะโรแมนติคก็ใช่ หรือว่าจะสติแตกก็เป็นได้ อ่านมาจากมติชน อีกข่าวนี้ก็เด็ด ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์คิดค้นกันว่าแล้วว่าถ้าน้ำมันหมดโลก ตอนนี้ไปขุดที่ขั้นโลกกันแล้ว และมีแผนว่าจะไปขุดน้ำมันที่ดวงจันทร์เพื่อเอามาใช้ในโลกมนุษย์ ฉันว่าเหลือเชื่อมนุษย์นี่อะไรกันนักหนา น้ำแข็งขั้วโลกละลายแน่ ฉันอาจได้เห็นในชั่วชีวิตสุดท้ายนี้ของฉัน ฉันตั้งปณิธานไว้ว่าจะไม่เกิดแล้ว ก็น่าเกิดใหม่มั๊ยเนี่ย จะมีโลกให้อยู่กันอีกหรือชาติหน้า หรือจะแค่ ๒๐๑๒ อีกสามปี โลกจะแตก วันพุธนี้พวกเราทีมแอนนิเมชั่นนัดกันว่าจะไปดูหนังเรื่องนี้ และฉันตัดสินใจแล้วว่าจะต้องทำวิทยานิพนธ์ให้จบในปีเดียว ซึ่งหมายความว่าจบป.โท ในปีเดียว ไม่ได้รีบร้อนไปไหนค่ะ จะอยู่ใกล้ๆ รุ่งอรุณ อาศรมศิลป์แถวๆ นี้ค่ะ แต่ว่ารู้สึกว่าจบปีเดียวดีกว่าค่ะ
และเมื่อไปดูหนังเรื่อง ๒๐๑๒ มาแล้ว ฉันยิ่งมีปณิธานที่แจ่มชัดขึ้นว่า จะทำวิทยานิพนธ์เรียนให้จบ ป.โทในเพียงปีเดียว และต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเองครั้งยิ่งใหญ่ อย่างไรฉันยังไม่แน่ใจนัก แต่ที่ฉันรู้ว่าฉันเชื่อในจินตนภาพและจินตนาการในการเล่าเรื่อง สร้างศิลปะแขนงที่เจ็ดที่เรียกว่าภาพยนตร์ มันออกมาแจ่มชัดมากในหนังเรื่องวันสิ้นโลกนี้ค่ะ ฉันไม่ได้ตื่นตระหนกอยากหนีขึ้นเรือโนอาห์กับเขาด้วย แต่ว่าคิดว่าจะตั้งสติอยู่กับขณะปัจจุบันของเราอย่างไรดี
แอนนิเมชั่นการ์ตูนดินปั้นที่เราทำ ฉากแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับจักรวาล ทำให้เราพูดคุยกันเรื่องจักรวาลกันมาก
Theme : ศรัทธา อัศจรรย์แห่งชีวิตที่รอให้แต่ละคนเดินทางค้นหา
Synopsis: ผีเสื้อนำเมล็ดดาวมาให้กับโลกสีน้ำตาลที่เดินรอบเพียง 7 ก้าว ชีวิตสองชีวิต เติบโต วิ่งเล่น กับความสุขด้วยวิธีที่ต่างทิศต่างทางกัน เด็กหนึ่งไม่เคยหยุดมอง เด็กสองไม่คิดครอบครอง ทั้งสองเดินทางเพื่อหาความหมายบางอย่างกับชีวิต คิดถึงวัยเด็กที่ตามหากันไม่เจอ และศรัทธาที่รออยู่กลางใจเมล็ดดาว ซึ่งแต่ละคนพิสูจน์มิได้ในทันที
โลกสีน้ำตาลในเรื่อง เราเดินกันได้เพียงเจ็ดก้าว โลกนี้มีแรงเฉื่อยและแรงโน้มถ่วงที่ไม่ธรรมดา---
เราทำงานกันหนักตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงเที่ยงคืน แต่ไม่เหนื่อย กลับสนุก เพราะเราหาเวลาพัก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน ดูหนังด้วยกัน คุยกันเรื่องหนังสือ เรื่องโลกเรื่องจักรวาล เรื่องสัมพันธภาพ และสุดท้ายก็ต้องมาเข้าเรื่องของความสัมพันธ์ เรื่องของตัวเอง
พอไปเรื่องแรงโน้มถ่วง เราก็นึกถึงไอน์สไตน์ และกาลิเลโอ คืนก่อนเราดูหนังเรื่องหนีตามกาลิเลโอ ชอบๆๆๆๆๆ ทำพอดีๆๆๆๆ เลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะเจาะได้ชัดและเขียนบทแทรกปรัชญาการใช้ชีวิต ให้ความหมายกับชีวิตของแต่ละคาแรคเตอร์ตัวละครได้อย่างเนียน ภาพ แสงก็ชวนให้ติดตา อุ่นๆ นวลๆ คิดว่าจะเป็นหนังรัก แต่กลับเป็นหนังของมิตรภาพเพื่อนและการให้และใช้ความหมายของชีวิตในแต่ละคน
น้องเข็มเพิ่งอ่านหนังสือเรื่องไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้า เขมบอกว่าไอน์สไตน์ศึกษาพุทธศาสนาก่อนตาย เพื่อที่จะศึกษาทฤษฎีร่นเวลา พบกาลก่อน เข็มว่าไอน์สไตน์ตายไปก่อน แต่เขาได้ค้นคว้าความลับของมิติกาลเวลา เจอประตูสามประตูแล้ว จากพระพุทธเจ้า ว่าเรื่องมิติเวลา ความรู้เท่ามหาสมุทร อะไรประมาณนี้
อุเทน นักเขียนของเราหยิบกระดาษเปล่าหนึ่งหน้าขึ้นมาพลิกกลับไปกลับมา แล้วเอามาให้เรามองหลากมุม เขาบอกว่ากับมุมกระดาษนี้ เราสามารถเรียนรู้เรื่องมิติกาลเวลาได้ อย่างที่ไอน์สไตน์ว่า พวกเรามองหน้ากันเองอย่างงงๆ อุเทนกำลังเขียนหนังสือเรื่องเอกภพอยู่
ฉันไม่รู้เรื่องทางวิทยาศาสตร์ จักรวาลมากนัก แต่รู้ว่าพระพุทธเข้าเรานี่สุดยอด เป็นสุดยอดของปรมาจารย์ เป็นครูผู้อธิบายเกี่ยวกับความลับของธรรมชาติ จักรวาล จิตใจของมนุษย์ รวมทั้งอริยสัจแห่งชีวิต
ฉันวกกลับมาเรื่องเล่าที่ในอรุโณวาท พระผู้สร้างว่าท่านมีขุมทรัพย์ที่รอให้มนุษย์ค้นพบเมื่อเขาพร้อม และที่ซ่อนที่ดีที่สุด คือในตัวของเขาเอง ฉันมีคำถามเกิดขึ้นสองข้อ
ข้อหนึ่งขุมทรัพย์ที่ว่านั้นคืออะไร วัตถุ ข้าวของ น้ำมัน หรือว่า สติปัญญา
ข้อที่สอง เมื่อมนุษย์พร้อม เขาจะมองหาภายในตัวเขาเองเป็นที่สุดท้าย เพราะเขามัวแต่ไปมองหา ขุมทรัพย์ น้ำมัน ข้อความจากนอกภายนอก จากนอกโลก จากจักรวาล จากมนุษย์ต่างดาว โดยที่ไม่หันมามองที่ตัวเองอย่างนั้นหรือ
ฉันว่าเรื่องเล่านี้มันเข้ากับการเรียนรู้สัปดาห์นี้ของฉันมาก
ฉันรู้สึกว่าฉันเป็นมนุษย์ที่รู้ตัวทั่วพร้อมขึ้นทุกวัน และค้นพบความลับใจตัวของฉันมากขึ้นทุกๆ วัน
มีความสุขมากขึ้นทุกวัน รู้จักตัวเองมากขึ้นทุกวัน รู้เท่าทันตัวเองมากขึ้น รู้ ตื่น และเบิกบานมากขึ้นทุกวัน
ฉันหยิบภาพยนตร์เรื่อง Freedom Writer มาให้ทีมแอนนิเมชั่นดูกัน สำหรับฉันดูเป็นรอบที่สี่ค่ะ ฉันได้ประเด็นใหม่ในการดูภาพยนตร์เรื่องนี้ที่นักเรียนพูดกับครูว่า “ การต่อสู้ที่แท้จริงเริ่มตั้งแต่ในห้องเรียนแล้ว” ฉันถามตัวเองว่าวันนี้ฉันสู้ในห้องเรียน ป.โทของฉันหรือยัง ฉันตอบได้เต็มใจว่า เริ่มต่อสู้เรียนรู้ ตักตวง ใช้โอกาส และพื้นที่สร้างการเรียนรู้ในห้องเรียน ป.โทของฉันอย่างเต็มที่แล้ว ฉันต่อสู้เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว สู้ทั้งกล้าทั้งกลัว แต่เชื่อมั่นในความรู้สึก เรียนรู้จากความรู้สึกว่าในนั้นมีสัญญาณ มีลายแทง มีความลับบางอย่างให้เรียนรู้ ฉันค้นพบสติ และ ปัญญาภายในตัวตนของฉันได้มากขึ้นจากการที่หยุด และสังเกตปฏิกิริยาของร่างกายและความรู้สึกสดที่เกิดขึ้นจริงในภาวะขณะ มันมีอะไรบางอย่างนั้น ส่งสารอะไรให้เราใคร่ครวญ ดู รู้ อยู่กับเขา
รอบนี้ดูพากย์ไทย เพราะดูกับเพื่อนๆ น้องทีมแอนนิเมชั่น รู้เรื่องมากขึ้น คุยกันหลังหนังจบ อุเทนบอกว่าชอบ แต่รู้สึกว่าอาจารย์ติดเด็กนักเรียนเกินไปรึเปล่า ตามไปสอนกันจนมหาวิทยาลัย เป็นแค่ครูเองนะ เราเห็นต่างว่า ครูในเรื่องนี้ไม่ได้เป็นแค่ครู แต่เป็นสเมือนครอบครัวที่สอง เป็นเหมือนพ่อแม่ พี่เพื่อนของเด็กนักเรียนด้วยต่างหาก เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของเด็กเชียวนะ ครูอีรินปั้นเด็กกลุ่มเดียวก่อน เคียงบ่าเคียงไหล่ตามกันไปให้สุดทาง เมื่อจบมหาวิทยาลัย ก็ไปตามทางแต่ละคน แต่ว่าร่วมกันตั้งมูลนิธิ ทำอะไรสร้างสรรค์ด้วยกัน ฉันตามเข้าไปดูในเว็บไซต์ว่า มูลนิธิ Freedom Writer Foundation เขาทำอะไรกัน แล้วเขียนส่งข้อความเกี่ยวกับโรงเรียนห้วยหิ่งห้อยไปหา จะเอาหนังเรื่องนี้ไปให้เด็กห้วยหิ่งห้อยดูด้วย แล้วเด็กอาจจะอยากเขียนแลกเปลี่ยนไปถึงมูลนิธินี้ หรืออาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กเห็นถึงความสัมพันธ์ของครูกับเด็กว่าเป็นกันได้มากแค่ไหน จริงๆ แล้วฉันอยากให้ห้วยหิ่งห้อยของเรา มีสายสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กเป็นครอบครัว เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่ เคียงบ่าเคียงไหล่กันไปเรื่อย ฉันติดเด็กหรือเปล่านะ
เมื่อวานฉันให้อุเทน เพื่อนนักเขียนดูบทความการบ้าน บันทึกการเรียนรู้ประจำสัปดาห์การบ้าน ฉันรวบรวมได้สิบกว่าบทความแล้ว และคิดว่ามันสามารถรวมเล่มเป็นหนังสือได้เล่มหนึ่ง ฉันตั้งชื่อหนังสือไว้แล้วว่า “ การบ้าน ป.โท” “ Freedom in My Master Degree” เพื่อนนักเขียนบอกว่าจะตั้งใจอ่านหนึ่งคืน เช้ามาให้ข้อสะท้อนที่ดีว่า น่าจะใส่บุคลิก นิสัย หน้าตา ท่าทาง คุณลักษณะของเพื่อนร่วมชั้นไปด้วย ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้มากขึ้น จะได้มีรายละเอียดตัวละคร นึกภาพตามไปด้วยออก เช่น พี่ปาด หน้าตาเป็นอย่างไร เคร่งขรึม ใส่แว่นหนาเตอะ อ้วน เตี๊ย เพราะพี่ปาดดูเป็นตัวละครตัวพี่ที่เราเอ่ยถึงในบันทึกการบ้านไม่น้อย อาจารย์ประภาภัทร มาดขรึม หรือใจดี ใส่เรื่องวัฒนธรรมการแต่งกายใส่ผ้าถุงไปเรียน ใส่เรื่องความคิด วิเคราะห์ รายละเอียดในห้อง เรื่องที่คุยกันในห้องของคนอื่นๆ ด้วย พัฒนาการการเปลี่ยนหัวใจของห้องให้เป็นห้องเรียนที่เรียนรู้เรื่องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงมันเป็นไปได้สวยดี เข้าทางเรามากกว่าทางพี่ปาด มีพัฒนาการแค่ไหน
ฉันกลับมาแก้ไขต้นฉบับทันที เพราะอยากจะเอาไป อัพในเวปของห้องเรียน เพื่อเพื่อนในห้องเรียนจะได้ร่วมกันสะท้อน แล้วเพื่อนก็บอกเรื่องข่าวการประกวดนายอินทร์อะวอร์ด ว่าจะเป็นรอบทศวรรษ และจะหมดเขตเดือนธันวาคมนี้ ฉันสนใจในโอกาส และเงินรางวัล และน่าจะสนุก ลองส่งไปเล่นๆ เช้านี้ฉันเลยมานั่งเขียน แก้ไขงานเก่า จากคำแนะนำของเพื่อนนักเขียน ใช่ค่ะ ฉันคิดว่าจะส่ง Freedom in My Master Degree การบ้าน ป.โท ส่งเข้าประกวดนายอินทร์อะวอร์ด แต่ต้องขออนุญาตเพื่อนๆ และคณาจารย์ก่อนนะคะ อนุญาตหรือเปล่าค่ะ หากแค่ได้เข้ารอบก็จะพาพี่ปาดไปเลี้ยงข้าวเป็นการขอขมาลาโทษค่ะ.