วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เสนอหัวข้องานวิทยานิพนธ์ครั้งที่ ๑ “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง”

เสนอหัวข้องานวิทยานิพนธ์ครั้งที่ ๑ “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง”
โครงร่างวิทยานิพนธ์
เรื่อง การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง
( Experimental Learning for Transformation)

ผู้ดำเนินงาน นางสาวเสาวนีย์ สังขาระ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเรียนการสอนในโรงเรียนหรือในการฝึกอบรมที่จัดกันโดยทั่วนั้นเน้นให้ฝึกฝนสองส่วน คือ ส่วนหัวที่รวมถึงการคิด วิเคราะห์ ท่องจำ การรับและการให้ข้อมูล และส่วนมือคือทักษะต่างๆ ส่วนที่ถูกมองข้ามและไม่อยู่ในกระบวนการเรียนการสอนแลการอบรมที่ทำกันทั่วไป คือ ส่วนหัวใจ อันหมายถึงความรู้สึกและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ในระบบโรงเรียนนั้นเรื่องอารมณ์ความรู้สึกนี้เชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับเรื่องอำนาจอันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมครอบงำ คือคนที่มีอำนาจเท่านั้นที่สามารถแสดงออกอารมณ์ได้ เช่น ครูจะเป็นผู้ที่แสดงอารมณ์ต่างๆ ได้โดยเฉพาะความรู้สึกทางลบ ในส่วนของผู้เรียนนั้นระบบการศึกษาอนุญาตให้ผู้เรียนแสดงออกได้เฉพาะความรู้สึกที่ผู้ใหญ่ ครู หรือผู้มีอำนาจในสถานการศึกษานั้นต้องการเห็น
เราจึงเห็นการจัดการกิจกรรม อบรมส่วนใหญ่เน้นให้ผู้เรียนมีความสนุก มีความสุข จากการเล่นเกมส์ การเล่าเรื่องตลกของวิทยากร การพาไปเที่ยวเพื่อไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อ สนุกและมีพลังเพื่อทดแทนการเรียนรู้ที่เน้นส่วนหัว แต่ไม่อนุญาตและไม่ให้ความสำคัญในการพูดหรือแสดงออกกับความรู้สึกที่ยาก เช่น ความเศร้า ความโกรธ หรือแม้แต่ความกลัว เหล่านี้เป็นผลพวงของวัฒนธรรมครอบงำที่ให้ความสำคัญกับความคิดและตรรกะแต่ไม่เห็นคุณค่าของความรู้สึก
ความรู้และปัญญาไม่ได้มาจากการฟัง การอ่าน และการเห็นเท่านั้น คนเราได้ปัญญาจากการพินิจพิจารณาความรู้สึกทีเกิดขึ้นในประสบการณ์แต่ละอย่างด้วย และตัวปัญญานั้นยังชี้ทางให้เราอีกว่า ต่อไปนี้จะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเราหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร
การเปลี่ยนแปลง จะเกิดขึ้นจากการที่หัวใจได้สัมผัสกับความทุกข์ หรือสุข ที่นำไปสู่ปัญญา แรงผลักดัน และการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเอง
ด้วยเหตุนี้เอง การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จึงถือเอาการเรียนรู้ผ่านอารมณ์ความรู้สึกเป็นส่วนที่สำคัญพอๆ กับ หรือมากกว่าการเรียนรู้ที่หัวสมอง ความคิด ทักษะ เพราะการเรียนสองแบบหลังมีอยู่เกลื่อนกลาดทั่วไป และในสังคมที่ผู้คนถูกกดดันให้เก็บความรู้สึกและใช้ความคิดหรือตรรกะเป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหาเช่นบ้านเรานี้ จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และการแสวงหาปัญญาจากความรู้สึก

*การอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง ( Training for Transformation ) ส่วนหนึ่งจากการเขียนและเรียบเรียงโดยโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม






วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑. เพื่อศึกษาแนวคิด รูปแบบ กระบวนการ การจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง
๒. เพื่อศึกษาภูมิหลัง แรงบันดาลใจ พัฒนาการและประสบการณ์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งผู้เขียนเอง ผู้จัดกระบวนกร ผู้เข้าร่วมการอบรม และองค์กร ที่จัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยนี้ศึกษา ภูมิหลัง ปัจจัย เหตุการณ์ เรื่องราว ของผู้ที่ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง จากการพิจารณา ทบทวน สรุปบทเรียน ประสบการณ์ชีวิต ด้วยระดับหัวใจผ่านอารมณ์ ความรู้สึกทำให้เกิดปัญญา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง ผู้ที่เกี่ยวข้อง และสังคมอย่างไร

กรอบแนวคิดในการวิจัย
แนวคิดเรื่องโครงสร้างสังคม คือการทำความเข้าใจสังคมที่เราอยู่ในระดับโครงสร้าง เพราะเชื่อว่าชีวิตของแต่ละบุคคลได้รับผลกระทบโดยตรงจากสังคมที่เขาอาศัยอยู่ โครงสร้างดังกล่าวคือตัวสถาบัน ความเชื่อ และระบบต่างๆ ที่กำหนดคุณค่า ความหมาย กฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ และนโยบายให้ผู้คนในสังคมนั้นปฏิบัติตาม ตัวอย่างของโครงสร้างสังคมที่ว่านี้คือ ระบบกฎหมาย ประเพณี ธรรมเนียมและวัฒนธรรม สื่อ สถาบันและความเชื่อทางศาสนา ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา สถาบันที่เกี่ยวกับสาธารณสุข และสถาบันการเมืองเป็นต้น โดยเฉพาะในการทำงานกับผู้ที่ประสบทุกข์เป็นชายขอบนั้น โครงสร้างสังคมเหล่านี้เป็นเหตุ ปัจจัย และเงื่อนไขที่ทำให้เขาได้รับความไม่ยุติธรรม เราจึงเรียกว่าโครงสร้างความรุนแรง เพราะโครงสร้างแบบนี้เป็นความรุนแรงโดยอ้อม ซึ่งเราไม่อาจเห็นได้ชัดเจนเหมือนเช่นความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยตรง ความเข้าใจแนวคิดเรื่องโครงสร้างสังคมนี้จะเป็นตัวปัญญาทำให้บุคคลหลุดพ้นจากความคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาส่วนตัว เป็นกรรม และการลงโทษตัวเอง ไปสู่วิธีการและกลยุทธ์ในการทำงานและสร้างขบวนการที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบของสังคม

การพัฒนาจิตวิญญาณ คือ การสร้างสันติภายใน การฝึกสติ ความสุข ความสงบ ความมั่นใจ รวมถึงการบ่มเพาะปัญญาและเมตตา เพื่อทำความเข้าใจความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นปัญหาของตนเอง ผู้อื่น และความท้าทายที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมั่นคง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ การคิดวิเคราะห์และสอนทักษะบางอย่างไม่เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนที่ประสบกับความรุนแรงและการกดขี่ซับซ้อนหาทางแก้ปัญหาได้ แต่การช่วยให้ผู้เรียนมีสติปัญญา และความสงบภายในจะเป็นฐานหลักของการแก้ปัญหาทั้งในระดับส่วนตัวและโครงสร้าง และมีความยั่งยืนในการทำงานเพราะทำด้วยจิตที่มีสติ สงบ มั่นคงและมีความหวัง

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยแนวคิดหลักหลายส่วนทั้งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง แนวความคิดสตรีนิยม แนวคิดเรื่องอำนาจ ทฤษฎีพื้นที่การเรียนรู้ แนวคิดมนุษย์นิยมและพุทธปรัชญา แนวความคิดและบทบาทหน้าที่ของผู้อำนวยการเรียนรู้ การศึกษาและการเรียนรู้ของผู้ใหญ่

สมมุติฐานในการวิจัย(ถ้ามี)
นิยามศัพท์เฉพาะ
การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
กระบวนการ
พื้นที่การเรียนรู้/ชุมชนแห่งการเรียนรู้
อ่าง (Container)
ชนชายขอบ


วิธีการดำเนินการวิจัย
งานวิทยานิพนธ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ มุ่งศึกษา ลักษณะอาการของการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ที่นำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงตัวเองทั้งในทางทรรศนะคติ และพฤติกรรม รวมทั้งคนรอบข้าง สังคม โดยการสัมภาษณ์ถอดประสบการณ์การเรียนรู้ส่วนบุคคลและการงานของผู้วิจัยเอง และกลุ่มประชากร กรณีศึกษาที่เป็นกระบวนกร โครงการ และองค์กรที่จัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง และจากเรื่องเล่าของผู้ผ่านการอบรมการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง

โครงการปฏิบัติการ
๑.โครงการทดลองอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง” กับครูโรงเรียนรุ่งอรุณ และนักศึกษา ป.โท อาศรมศิลป์ และทีมงานเมล็ดดาวเดินทาง
๒.โครงการประสานความร่วมมือ หลักสูตรการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับเด็กชายขอบ ห้วยหิ่งห้อย และโรงเรียนรุ่งอรุณ

ประชากร /กลุ่มตัวอย่าง/กรณีศึกษา
• กรณีศึกษาจากประสบการณ์การชีวิตและทำงานของผู้ทำงานวิจัยเอง
• กรณีศึกษา Self-Transformation ของบุคคลในการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย 5 ยุค
• กรณีศึกษาองค์กรจัดการศึกษาผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
• กรณีศึกษาการจัดศึกษาทางเลือกนานาชาติที่ผู้วิจัยผ่านประสบการณ์
• การศึกษาการองค์กร บุคคลสื่อสารมวลชนในตลาดที่สร้างรสนิยมการคิดนอกกรอบและสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้สังคม
• ถอดรหัสภาพยนตร์สารคดีที่ท้าทายการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก

ระยะเวลาการทำวิจัยและแผนการดำเนินงาน
พฤศจิกายน ๒๕๒ – ธันวาคม ๒๕๕๓








ตัวอย่างกรณีศึกษา / ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง/ ประเด็นสำคัญในการศึกษา

ประเด็นสำคัญในการศึกษา
๑. จากการเปลี่ยนแปลงทรรศนะคติ สู่พฤติกรรมของตัวเอง
๒. จากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่คนรอบข้าง ชุมชน
๓. จากการเปลี่ยนแปลงตัวเอง สู่สังคม
๔. จากการเปลี่ยนแปลงสู่ระดับนโยบาย และแนวทางการจัดการศึกษาให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น

ตัวอย่างกรณีศึกษา
กรณีศึกษาจากประสบการณ์ของผู้ทำงานวิจัย
- ถอดบทเรียนศูนย์การเรียนห้วยหิ่งห้อยที่สังขละบุรี กาญจนบุรี
- โครงการทดลองอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอบรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงกับครูรุ่งอรุณ นักศึกษา ป.โท และทีมงานเมล็ดดาวเดินทาง
- โครงการประสานความร่วมมือหลักสูตร “การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงของสำหรับเด็กชายขอบ” ระหว่างห้วยหิ่งห้อย โรงเรียนรุ่งอรุณ
กรณีศึกษาองค์กรที่จัดการศึกษาอื่นในประเทศไทย
- ศูนย์การฝึกอบรมโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม
- ต้นกล้า โครงการฝึกอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒนา
- โครงการ ยุวพุทธิชน ประชา หุตานุวัตร
- โครงการยุวชนสร้างสรรค์ ครูอู๊ด สุราษฎร์ธานี
- โรงเรียนรุ่งอรุณ
- บ้านกาญจนา
- GLT พม่า ของอาศรมวงศ์สนิท

กรณีศึกษานานาชาติจากประสบการณ์การศึกษาทางเลือกต่างนานาชาติของผู้ทำการวิจัย
โรงเรียนทางเลือก
- Upattinas school, PA, USA
- Tamariki School, New Zealand
- Global Village School, CA, USA
- The Community School

โรงเรียนฟิล์มสคูลทางเลือก
- Moscow Film School, Russia
- Haja, South Korea
- GIFTS, Gulfs Island Film and Television School, Vancouver, Canada

ศูนย์ฝึกอบรมและศูนย์การเรียน
- Training for Change, Philadelphia, USA
- Pristle Turtle, Vancouver, Canada
- Unlearning Society, Shishantar
- Boorubin, Australia

โปรแกรมทางเลือก
- The Way of Elephant, Learning journey through Siam, USA-Thailand
- Teacher Education Program ( NCACS )

องค์กรเครือข่ายการศึกษาทางเลือก
- Global Community Gathering , Thailand and others
- National Coalition of Alternative Communities School, NCACS, USA
- Alternative Education Revolution Organization (AERO)
- International Democratic School Conference (IDEC)

การศึกษาการองค์กรสื่อสารมวลชนในตลาดที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมนอกกรอบ
บุคคล
- ประภาส ชลศรานนท์
- ศุ บุญเลี้ยง
นิตยสาร
- A day, Open, Way
- ขวัญเรือน
- Fuse-Bioscope
- ปาจารยสาร
- สานแสงอรุณ
สำนักพิมพ์
- สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา
- Other Indian Press, India

กรณีศึกษาจากการสัมภาษณ์ความคิดคนในการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย ๕ ยุค
ยุคปรมาจารย์ ขบถยุคแรก ปู่-ย่า ปราชญ์ ของแผ่นดิน
- อาจารย์ระพี สาคริก
- สุลักษณ์ สิวรักษ์
- อาจารย์ที่เป็นหมอที่แอฟริกา
- ครูที่เขียนมานะมานี

ยุคสืบทอดเจตนา รุ่นพ่อแม่
- รัชนี ธงไชย และ พิภพ ธงไชย มูลนิธิเด็กและโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก
- อาจารย์ประภาภัทร และพี่แบน นิยม รุ่งอรุณ
- ประชา หุตานุวัตร อาศรมวงศ์สนิท
- อวยพร เขื่อนแก้ว ผู้จัดการอบรมแนวคิดสตรีนิยม การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาจิตวิญญาณ
ยุครุ่นพี่ ก่อเกิด
- ณัฐฬส วังวิญญู
- พี่อ้วน ต้นกล้า
- พี่หลิน ไพรินทร์ สันติวิธี

ยุคน้องใหม่ ขบถเล็กๆ
- เสาวนีย์ สังขาระ
- วัชรินทร์ สังขาระ
- วิจักษ์ พานิช
- มุทิตา พานิช
ยุคเด็กและเยาวชน
- เด็กจากโรงเรียนรุ่งอรุณ
- เด็กจากห้วยหิ่งห้อย สังขละ
- เด็กจากบ้านกาญจนา

กรณีศึกษาแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในภาพยนตร์
- Freedom Writer, Freedom Writer Foundation
- Micheal More
- Jennifer, Cooperation
- Fast Food Nation







สารบัญ / เนื้อหา
๑. บทนำ ฐานคิดงานวิทยานิพนธ์/วิจัย
สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา นายแพทย์ประเวศ
การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Experimental Learning for Transformation)
การศึกษาแนวพุทธ (Engage Buddhism)
การศึกษาเรื่องเพศวิถี (Feminism)
การรู้เท่าทันสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Media Literacy for Change)
Self transformation ของ Paolo Firere

๒. วิเคราะห์เหตุปัจจัย
ก่อเกิดและจุดเปลี่ยนการศึกษาโลก
ก่อเกิดและจุดเปลี่ยนการศึกษาไทย
กระแสการเติบโตของโลก
บทบาทสื่อมวลชน
กระแสปัจเจกชน
ก่อเกิดชนชายขอบ

๓. การสำรวจเชิงวรรณกรรม คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย แนวคิด ทฤษฎี และที่เกี่ยวข้อง
นิยาม - ความหมาย
“การศึกษา”
“การศึกษาทางเลือก”
การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Experimental Learning for Transformation)
การศึกษาแนวพุทธ (Engage Buddhism)
การศึกษาเรื่องเพศวิถี (Feminism)
การรู้เท่าทันสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม (Media Literacy for Change)


๔. วิเคราะห์เนื้อหาและนัยยะ
ปัญหานำวิจัย
วัตถุประสงค์
ขอบเขตการวิจัย
วิธีการดำเนินงานวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูล
• กรณีศึกษาจากประสบการณ์การทำงานของผู้ทำงานวิจัย
• กรณีศึกษา Self-Transformation ของบุคคลในการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย 5 ยุค
• กรณีศึกษาองค์กรจัดการศึกษาผ่านประสบการณ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
• กรณีศึกษาการจัดศึกษาทางเลือกนานาชาติที่ผู้วิจัยผ่านประสบการณ์
• การศึกษาการองค์กร บุคคลสื่อสารมวลชนในตลาดที่สร้างรสนิยมการคิดนอกกรอบและสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้สังคม
• ถอดรหัสภาพยนตร์สารคดีที่ท้าทายการเปลี่ยนแปลงในสังคมโลก
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อจำกัดในการวิจัย

๕. ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในอนาคต และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย
ข้อเสนอแนะสำหรับการทำวิจัยในอนาคต
ข้อเสนอจากภาคการศึกษาทางเลือก
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อการปฏิรูปการศึกษา
ข้อเสนอด้านการเชื่อมโยงและการประยุกต์ใช้

๖. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ภาคผนวก
๑. บทสรุปเส้นทางผลงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อเอกลักษณ์ในผลงาน ของผู้วิจัยเอง Researcher’s self Transformation

๒ ส่วนเสริมวิธีวิจัย: โครงการปฏิบัติการของผู้ทำการวิจัย
• หลักสูตรนิเทศศาสตร์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับเยาวชนชายขอบ
• การทำงานสื่อสารองค์กรกับโรงเรียนรุ่งอรุณและสถาบันอาศรมศิลป์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น